banner ad

การขึ้นทะเบียนชีวภัณฑ์

| September 23, 2020

มาตรฐานการขึ้นทะเบียนทั่วไป

ชีวภัณฑ์ เช่น  เชื้อรา Beauveria bassiana  เชื้อรา Metarhizium anisopliae  เชื้อรา Paecilomyces tenuipes 

เชื้อไตรโคเดอร์มา เชื้อ Bacillus subtilis, Bacillus thuringiensis ไวรัส NPV  ไส้เดือนฝอย โปรโตซัว แตนเบียน แมลงหางหนีบ แมลงช้างปีกใส มวนพิฆาต ไรตัวห้ำ

ฟีโรโมน เช่น methyl eugenol

1. เชื้อราฆ่าแมลง  ปริมาณเชื้อราได้ต่ำสุด 1*108 CFU ต่อมิลลิลิตร หรือกรัม มีหน่วยเป็น CFU : Colony Forming Unit

เชื้อไตรโคเดอร์มาปริมาณเชื้อได้ต่ำสุด 2*106 CFU ต่อมิลลิลิตร หรือกรัม

2. การปนเปื้อน จะต้องไม่มีเชื้อสาเหตุอันตรายต่อมนุษย์ สัตว์ พืช เช่น salmonella shigella vibrio  ไม่มีส่วนผสมของสารเคมีและสารสกัดจากพืช ส่วนจุลินทรีย์อื่นให้ยอมปนเปื้อนได้ 1*10ต่อมิลลิลิตร หรือกรัม

3. การคงตัวของเชื้ออยู่ในช่วง 30 องศาเซลเซียส ที่ความชื้น 65 %

เอกสารประกอบการขึ้นทะเบียน

1.คำขอขึ้นทะเบียนวัตถุอันตราย

2.หนังสือมอบอำนาจ สำเนาบัตรประชาชน

3.สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล

4.คำขอใช้ชื่อการค้า

5.รายการข้อมูลเพื่อการขึ้นทะเบียนชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช ได้แก่ 1.ข้อบ่งชี้ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช : ผู้ขอขึ้นทะเบียน ผู้ผลิตชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช ชื่อการค้า ชนิดสูตรผสมตาม GIF AP  ประเภทของสิ่งมีชีวิตที่ควบคุมและประเภทของการใช้ในไร่นา ชื่อวิทย์และสายพันธุ์/ซีโรไทพ์ องค์ประกอบของแต่ละส่วนในชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช เช่น ชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชชนิดเข้มข้น สารปรุงแต่งแต่ละชนิด สิ่งเจือปนที่เป็นจุลินทรีย์ สิ่งเจือปนที่ไม่ใช่จุลินทรีย์ เกณฑ์ด้านคุณภาพในการผลิตและเก็บรักษาชีวภัณฑ์กำจัดศัตรูพืช ได้แก่  ช่วงปริมาณจุลินทรีย์ในผลิตภัณฑ์กำจัดศัตรูพืชที่ยอมรับได้

6.รายงานการวิจัย

7.ข้อมูลการจำแนกสายพันธุ์เชื้อจุลินทรีย์ รายงานสิ่งเจือปนที่เป็นจุลินทรีย์ใช้หน่วย cfu/ml รายงานวิธีแยกเชื้อ รายงานเชื้อกำจัดอะไรบ้าง รายงาน DNA sequence

8.ใบรายงานผลการทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี เทคนิค ได้แก่ลักษณะที่ปรากฎ สี กลิ่น สถานะทางกายภาพ เช่น เป็นผงไม่จับตัวเป็นก้อนแข็ง ความชื้นไม่เกิน 12% คุณสมบัติทางเทคนิค เช่น นำมาร่อนผ่านตะแกรง 100 mesh มีส่วนตกค้างบนตะแกรงไม่เกิน 0.1% และผ่านตะแกรง 80 mesh ได้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้หัวฉีดอุดตัน

9.material safety data sheet

10.แผนการทดลองประสิทธิภาพชีวภัณฑ์

11.รายงานผลการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันทางปาก

12.รายงานผลการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันทางผิวหนัง

13.รายงานผลการทดสอบความเป็นพิษเฉียบพลันทางลมหายใจในหนู

14.รายงานผลการทดสอบการระคายเคืองทางเฉียบพลันทางผิวหนัง

15.รายงานผลการทดสอบการระคายเคืองทางเฉียบพลันทางตา

การใช้เอ็นไซม์ในการควบคุมศัตรูพืช

1. เอ็นไซม์ไคติเนสในการควบคุมหนอนกระทู้ผัก เอนไซม์เก็บที่เย็น ใช้ฟรีซไดร์ในการทำเชื้อ

2. เอ็นไซม์จากเชิ้อไตรโคเดอร์มาควบคุมเชื้อไฟท็อปเทอร่าในพริก

3. เอ็นไซม์จากเชื้อเมต้าไรเซียมมาควบคุมแมลง

สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
Satja Prasongsap
Professional Research Scientist
Horticultural Research Institute(HRI), Department of Agriculture (DOA)
P.O.Box 50 Chattuchak, Bangkok 10900, Thailand
Tel: 66-2940-5484
Fax: 66-2561-4667
E-mail address : herbdoa@gmail.com

Category: ชีวภัณฑ์และสารสกัด

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news