เหงือกปลาหมอ
เหงือกปลาหมอ
ชื่ออื่นๆ : จะเกร็ง อีเกร็ง แก้มหมอแล จันทร์ขี้ไก่ จันทร์หอม เหงือกปลาหมอแดง
ชื่อวงศ์: ACANTHACEAE
ชื่อสามัญ : Seaholly
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Acanthus ilicufolius Linn.var ilicifolius
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้พุ่ม ลำต้นตรง สูง 1-1.25 ม. ใบเดี่ยว เรียงตรงข้ามรูปขอบขนาน กว้าง 3-4.8ซม. ก้านใบหนา ยาว 8-10 ซม. ที่โคนก้านมีหนามแหลมคล้ายใบหู 2 อัน ดอกออกที่ปลายกิ่ง สีม่วงแกมน้ำเงินอ่อนถึงเข้ม ผลแห้งแตกได้ ทรงรูปไข่ ผิวเกลี้ยง
การนำไปใช้ประโยชน์ : ลำต้น ใช้ลำต้นสดนำมาต้มเอาน้ำอาบแก้ผดผื่นคัน ใบ ใช้ใบสดนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้ หรือนำใบสดมาตำให้ละเอียดใช้ใบพอกบริเวณแผลที่ถูกงูกัด
การขยายพันธุ์ : ปักชำ
การปลูกและการดูแล:ตัดเหง้าที่แตกหน่อหรือกิ่งที่ไม่แก่และไม่อ่อนเกินไป ปักชำลงในดินโคลน หรือในดินที่เตรียมไว้ และคอยรดน้ำให้ชุ่ม การดูแล ไม่ต้องเอาใจใส่เป็นพิเศษแต่อย่างใด เพียงแต่ในระยะแรกปลูกหมั่นรดน้ำให้ชุ่มจนกว่าต้นจะตั้งตัวได้เท่านั้น
สรรพคุณ
รากและต้น แก้พิษผื่นคัน แก้โรคผิวหนัง แก้ฝี แก้ฝีดาษ
ต้น เป็นยาอายุวัฒนะ แก้ปวดศรีษะ ถอนพิษ แก้ลมพิษ แก้ไข้จับหนาวสั่นบำรุงประสาท แก้คัน เปลือกต้น แก้ฝีแก้พิษเดือด
ใบ แก้ปวด รักษาแผลอักเสบ รักษาโรคไขข้ออักเสบ ขับน้ำเหลืองเสีย แก้ไข้หนาวจับสั่น บำรุงประสาท แก้คัน
เมล็ด ขับน้ำเหลืองเสีย
ทั้งหัว แก้พิษฝี แก้พิษกาฬ แก้ไข้หัว แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน แก้ธาตุไม่ปกติเจริญอาหาร เป็นยาอายุวัฒนะ
Category: พืชสมุนไพร, พืชสมุนไพร ย-ฮ