banner ad

มะคาเดเมีย

| June 18, 2014

มะคาเดเมีย (Macadamia: Macadamia integrifolia)

มะคาเดเมีย เป็นพืชอุตสาหกรรมที่ตลาดโลกมีความต้องการในปริมาณสูง สามารถปลูกทดแทนป่า มีอายุการให้ผลผลิตยาวนาน เป็นไม้ผลยืนต้นขนาดใหญ่ใบมีสีเขียวตลอดปี ไม่ผลัดใบ (evergreen tree) ผลมีเปลือกแข็งและหนา (nut) มีอายุการให้ผลผลิตยาวนาน เป็นพืชที่มีถิ่นกาเนิดบริเวณป่าน้าฝนชายทะเล (coastal rain forest) ทางตอนใต้ของรัฐควีนสแลนด์ และทางเหนือของรัฐนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 25 และ 27 องศาใต้ของประเทศออสเตรเลีย ต่อมาได้ปลูกแพร่หลายทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย

สถานการ์การผลิตมะคาเดเมียปี 2560 มีสัดส่วนร้อยละ 1 ของผลไม้เปลือกแข็งทั้งหมด และมีการคาดการณ์แนวโน้มการผลิตตั้งแต่ปี 2558-2563 ของ 10 ประเทศหลักที่มีการผลิตมะคาเดเมียสูงสุดของโลก ประกอบด้วย แอฟริกาใต้ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เคนย่า มาลาวี กัวเตมาลา บราซิล จีน เวียดนามและโมซิมเบิร์ก  ปี 2563 พบว่าประเทศจีนมีพื้นที่ปลูกมะคาเดเมียสูงที่สุดของโลก 65,000 เฮคเตอร์ รวมทั้งมีพื้นที่ปลูกใหม่ต่อปีสูงที่สุด 10,000 เฮคเตอร์ แต่อย่างไรก็ตาม แม้พื้นที่การปลูกของแอฟริกาจะน้อยกว่าจีน แต่คาดว่าจะสามารถให้ผลผลิตมะคาเดเมียทั้งกะลาได้สูงที่สุดของโลก 64,800 เมตริกตัน รองลงมาได้แก่ ออสเตรเลีย 58,000 เมตริก จีน 50,000 เมตริก และ เคนย่า 47,000 เมตริกตัน

พันธุ์มะคาเดเมียจากต่างประเทศที่นำมาใช้ในการทดสอบและบริโภค พบว่ามีอยู่ 3 สปีชีส์หลัก คือ M. integrifolia, M. tetraphylla และ Macadamia hybrid โดยแต่ละสปีชีส์ (Species) สามารถแบ่งออกเป็นพันธุ์ย่อย ๆ ดังนี้

-M. integrifolia มีทั้งหมด 42 พันธุ์ ได้แก่ Keauhou (246), Purvis (294), Ikaika (333), Kau(344), Kakea (508), Keaau (660), Mauka (741, 781, 783, 789), Pahala (788), Dennison (790), Fuji(791), 792, Makai (800), 812, 814, 816, 834, 837, 842, 849, 863, 887, Daddow, Faulkner (778),Reim’s Int 1, Reim’s Int 2, Teddington, UNP-F1, UNP-F4, EMB-1, KRG-1, KRG-2, KRG-3, KRG-4, KRG-15, MRG-20, MRG-25, EMB-2, TTW-2, Hinde (H2)

-M. tetraphylla มีทั้งหมด 10 พันธุ์ ได้แก่ Reim’s Tet 1, Reim’s Tet 2, Reim’s Tet 3, W148,W266, Prabert-2, Burdick, Elimbah, Own choice, Heilscher

-Macadamia hybrid มีทั้ง ห ม ด 2 0 พัน ธุ์ ไ ด้แ ก่ A4, A16, A38, A104, A217, A203, A268, Beaumont ( 695) , Nelmak 1, Nelmak 2, Nelmak 26, Greber Probert-1, KMB-3, EMB-H, KMB-4, MRG-2, MRG-25, MRU-23, MRU-24, MRU-25

มะคาเดเมียพันธุ์ทั่วไป

1.พันธุ์เบอร์ 246 (Keauhou) เป็นพันธุ์เก่าแก่ที่สุดของฮาวายคัดเลือกพันธุ์ได้ในปี ค.ศ. 1935 และตั้งชื่อพันธุ์ในปี ค.ศ. 1948 ทรงต้นรูปร่างกลม (round shape) กิ่งก้านแผ่กว้าง จึงต้องใช้ระยะปลูกกว้างขึ้น ใบมีสีเขียวเข้ม ขนาดผลใหญ่ประมาณ 141 ผลต่อกิโลกรัม ผิวเมล็ดสีน้ำตาลมีจุดประเล็กน้อย เปอร์เซ็นต์เนื้อในสุทธิ (kernel recovery) 33-40 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์เกรด 1 (เปอร์เซ็นต์ลอยน้ำ) 85-100 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักเนื้อใน 2.8-3.4 กรัม พันธุ์ 246 มีคุณสมบัติการแปรรูปดี ที่ผ่านมาไม่แนะนำให้ปลูกเพราะลูกของพันธุ์นี้ คือ เบอร์ 800 (Makai) ให้ผลผลิตและคุณภาพสูงกว่า อย่างไรก็ตามส่วนใหญ่ในฮาวายและในออสเตรเลียยังปลูกอยู่ เพื่อใช้เป็นพันธุ์ที่ช่วยในการผสมเกสรและตัวรับการผสมเกสรจากพันธุ์อื่นๆ ได้ดี คุณสมบัติดีเด่น คือลูกที่เพาะจากเมล็ด พันธุ์ 246 ส่วนใหญ่จะมีคุณสมบัติดีกว่าพ่อ-แม่ นอกจากนี้ยังต้านทานโรคแอนแทรกโนส ที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum spp. ได้สูง

2.พันธุ์เบอร์ 333 (Ikaika)เริ่มต้นคัดเลือกในปี ค.ศ. 1936 และได้รับการตั้งชื่อพันธุ์ในปี ค.ศ. 1952 ทรงพุ่มใหญ่มีการเจริญเติบโตดี ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีมาก ใบใหญ่สีเขียวเข้ม ขอบใบมีหนามแหลมจานวนมาก ติดผลดกเป็นพวง ขนาดผลเล็ก ประมาณ 174 ผลต่อกิโลกรัม กะลาค่อนข้างหนาเปอร์เซ็นต์เนื้อในหลังกะเทาะ 31-35 เปอร์เซ็นต์ การติดผลสูง แต่คุณภาพไม่แน่นอน บางปีเปอร์เซ็นต์เกรด 1 เนื้อใน (kernel recovery) ลดลงต่ำกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ จึงไม่แนะนำให้ปลูกต่อไปและพันธุ์เบอร์ 333 อ่อนแอต่ออาการที่เรียกว่า Quick decline คือ แห้งตายอย่างรวดเร็ว เมื่ออายุต้นมากขึ้นโดยเฉพาะในรัฐฮาวายรวมทั้งในประเทศไทย

3.พันธุ์เบอร์ 344 (Kau) เริ่มค้นพบตั้งแต่ปี ค.ศ. 1935 แต่ตกสำรวจไม่ได้รับการรับรองให้เป็นพันธุ์แนะนา ในปี ค.ศ. 1948 เหมือนกับพันธุ์อื่น ๆ แต่ได้รับการตั้งชื่อพันธุ์ในปี ค.ศ. 1971 พันธุ์ เบอร์ 344 มีทรงต้นสวยแบบสนฉัตร (erect type) และมีลักษณะเด่น คือทนทานต่อสภาพแวดล้อม แม้จะขาดการดูแลรักษาเป็นเวลานาน ต้นก็ยังมีใบเขียวเข้มอยู่เสมอ จึงถูกนาเข้ามาทดสอบใหม่และเริ่มแสดงคุณสมบัติที่ดีออกมา จึงจัดเป็นพันธุ์หนัก ทนต่อสภาวะอากาศต่าง ๆ ได้ดี มีลักษณะเขียวตลอดปี จึงได้ชื่อว่า Co-operating tree ปลูกกันมากทั้งในฮาวาย และออสเตรเลีย ขนาดผลค่อนข้างใหญ่เท่า ๆ กับ เบอร์ 246 มีจานวน 134 ผลต่อกิโลกรัม เปอร์เซ็นต์เกรด 1 เนื้อใน (kernel recovery ) 36-40 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์ลอยน้ำ 95-98 เปอร์เซ็นต์ น้าหนักเนื้อในเฉลี่ย 2.6 กรัมต่อเมล็ด ผลผลิตต่อต้นสูงกว่าเบอร์ 333 และ 508 สามารถปลูกได้ดีในที่ระดับต่าจนถึงระดับสูงเกือบ 700 เมตร ในสภาพอากาศของฮาวาย

4.พันธุ์เบอร์ 800 (Makai) เริ่มคัดเลือกเมื่อปี ค.ศ. 1967 และตั้งชื่อพันธุ์เป็นมาคาอิ หรือ มาไค (Makai) ในปี ค.ศ. 1977 พร้อมกับพันธุ์เบอร์ 741 ซึ่งเป็นภาษาพื้นเมืองแปลว่าใกล้ทะเล คัดเลือกมาจากต้นเพาะเมล็ดของพันธุ์เบอร์ 246 ลักษณะทรงพุ่มและใบคล้ายคลึงกับเบอร์ 246 คือ ทรงพุ่มค่อนข้างกลม ใบเขียว มีหนามที่ขอบใบแหลมคม ขนาดผลใหญ่กว่าพันธุ์อื่น ๆ เนื้อในมีคุณภาพดีเยี่ยม รูปร่างและสีสวย จึงใช้เป็นพันธุ์มาตรฐานในการคัดเลือกพันธุ์ใหม่อื่น ๆ เปอร์เซ็นต์เกรด 1 เนื้อใน (kernel recovery) 38-42 เปอร์เซ็นต์ และเปอร์เซ็นต์ลอยน้ำ (เปอร์เซ็นต์เกรด 1) 97-100 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักเมล็ดเนื้อในเฉลี่ย 2.4–3.2 กรัม

5.พันธุ์เอชทู (H2 หรือ Hinde)เป็นพันธุ์ที่คัดเลือกจากเมืองกิลส์ตัน (Gilston) รัฐควีนสแลนด์ (Queensland) ลักษณะทรงต้นใหญ่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพของประเทศไทย ตั้งแต่ระดับต่าจนถึงระดับสูง ใบขนาดใหญ่ สีเขียว ปลายใบกลมมน ไม่มีหนาม ต้นแข็งแรง ติดผลดก ขนาดผลค่อนข้างใหญ่ กะลาหนาเล็กน้อย ผลมีรอยบุ๋มหรือลักยิ้ม (dimple)ที่ขั้วผล จานวนเมล็ดต่อกิโลกรัมประมาณ 142 เมล็ด เปอร์เซ็นต์เกรด 1 เนื้อใน (kernel recovery) ค่อนข้างต่ำ 31-35 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์ลอยน้ำ (เปอร์เซ็นต์เกรด 1) 85-100 เปอร์เซ็นต์ น้ำหนักเนื้อในต่อเมล็ดเฉลี่ย 2.3 กรัม แต่เนื้อในรูปร่างออกกลมแบน อายุต้น 10 ปี ผลผลิตประมาณ 18 กิโลกรัมต่อต้น

6.พันธุ์โอซี (Own Choice) คัดเลือกโดยสวนเอกชน โดยนายเอ็น เกรเบอร์ (Mr. N.Greber) เมืองเบียร์วาห์ (Beerwah) รัฐ ควีนสแลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ลักษณะทรงต้นเป็นพุ่มขนาดกลาง แตกกิ่งแขนงมาก เป็นพันธุ์เบา ออกดอกง่ายและดก ผลผลิตค่อนข้างสูง ที่ปลูกที่บริเวณกลาสเฮาส์ เมาน์เทน (Glasshouse Mountain) ได้ผลผลิตถึง 26 กิโลกรัมต่อต้น เมื่ออายุ 10 ปี ขนาดผลใหญ่กว่า เอชทู เฉลี่ย 129 ผลต่อกิโลกรัม มีเปอร์เซ็นต์เกรด 1 เนื้อใน 33-37 เปอร์เซ็นต์ เปอร์เซ็นต์ลอยน้า (เปอร์เซ็นต์เกรด 1) 95-100 เปอร์เซ็นต์ น้าหนักเนื้อใน 2.7-3.0 กรัมต่อเมล็ด เนื้อในค่อนข้างใหญ่ สีและคุณภาพดี มีข้อเสีย คือ ผลไม่หล่นลงพื้นเมื่อแก่ (stick tight) ซึ่งต้องใช้แรงงานขึ้นเก็บต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และกะลาจะบางและแตกหักง่ายเมื่ออากาศร้อนทาให้งอก ทำให้เนื้อในมีรสขม อีกทั้งทรงพุ่มจะแน่นทึบ ต้องตัดแต่งกิ่งอยู่เสมอ

7. พันธุ์แดดโด (Daddow) เป็นพันธุ์ที่มีคุณภาพและผลผลิตสูงอีกพันธุ์หนึ่งของออสเตรเลีย ซึ่งสูงกว่าพันธุ์ 246 333 และ 660 ของฮาวาย เมื่อปลูกเปรียบเทียบกันในประเทศออสเตรเลีย มีเปอร์เซ็นต์เกรด 1 เนื้อ ในประมาณ 39 เปอร์เซ็นต์

8. พันธุ์เบอร์ 294 (Purvis) เป็นพันธุ์ที่มหาวิทยาลัยฮาวายคัดเลือกตั้งแต่ปี ค.ศ. 1936 แต่มาตั้งชื่อในปี ค.ศ. 1981 เพื่อให้เป็นเกียรติแก่นายวิลเลี่ยม เพอร์วิส ซึ่งเป็นผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้นามะคาเดเมียมาปลูกเป็นคนแรกในรัฐฮาวายที่เพิ่งได้รับตั้งชื่อในปี 2524 เพราะเมื่อปลูกทดสอบตามแหล่งต่าง ๆ มักแสดงอาการขาดธาตุอาหารให้เห็นเสมอ พันธุ์เบอร์ 294 ติดผลดก ขนาดผลใหญ่ เปอร์เซ็นต์เกรด 1 เนื้อในสูง 37-41 เปอร์เซ็นต์

กรมวิชาการเกษตร ได้เริ่มศึกษาและวิจัยตั้งแต่ปี พ.ศ.2496 จนได้พันธุ์ดีแนะนำสำหรับเกษตรกร จำนวน 3 พันธุ์ ได้แก่

1. พันธุ์เชียงใหม่ 400 (HAES 660) เป็นพันธุ์เบา ออกดอกดก ใช้ปลูกร่วมกับพันธุ์อื่นเพื่อช่วยผสมเกสรคือ เชียงใหม่ 400 : พันธุ์อื่น (1:3) เป็นพันธุ์ที่มีทรงต้นตั้งตรง พุ่มเล็ก ออกดอกเร็วหรืออายุเบา อายุเก็บเกี่ยวสั้น เปลือกของผลบาง เปอร์เซ็นต์เกรด 1 เนื้อใน 34-42 % เปอร์เซ็นต์ลอยน้ำ 93-100 % น้ำหนักเนื้อใน 1.5-2.7 กรัม จำนวนเมล็ด 175-190 เมล็ด/กก ข้อจำกัด คือ ผลผลิตอาจลดลง เมื่อต้นมีอายุมากขึ้น เหมาะสำหรับปลูกในพื้นที่อากาศเย็นในที่สูงระดับ 400 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป ไม่ควรปลูกเป็นพันธุ์เดียวในพื้นที่ใหญ่ ๆ เพราะให้ผลผลิตต่ำ

2. พันธุ์เชียงใหม่ 700 (HAES 741) ทรงต้นตั้งตรง ใบมีหนามมาก ผลใหญ่ และกะลาบาง เปอร์เซ็นต์เกรด 1 เนื้อใน 32-39 % เปอร์เซ็นต์ลอยน้ำ 98% เนื้อในหนัก 2.8 กรัม จำนวนผล 135-150 /กก. ปรับตัวได้ดี สามารถปลูกให้ผลผลิตดีในพื้นที่สูงตั้งแต่ระดับ 300 – 1,300 เมตร จากระดับน้ำทะเล ข้อจำกัด คือ ถ้าปลูกในพื้นที่ขาดน้ำและดินมีความชื้นต่ำ ผลจะร่วงง่ายและผลมีขนาดเล็ก และพื้นที่ต่ำกว่า 800 เมตร คุณภาพเนื้อในอาจจะลดลงหรือไม่ดี

3. พันธุ์เชียงใหม่ 1000 (HAES 508) ทรงต้นรูปร่างกลม ขนาดของผลปานกลาง ประมาณ 148-170 ผลต่อ กก. เปอร์เซ็นต์เกรด 1 เนื้อใน34-38 % เปอร์เซ็นต์ลอยน้ำ84-100 % น้ำหนักเนื้อใน 1.7-2.5 กรัม เจริญเติบโตและให้ผลผลิตดีกว่าทุกพันธุ์ในที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป (ชอบอากาศเย็น) และทนแล้ง ข้อจำกัด คือ ไม่ทนร้อน มักเกิดอาการใบไหม้ เมื่อปลูกในพื้นที่ต่ำกว่า 1,000 เมตรลงมา ถ้าพื้นที่ปลูกขาดน้ำและความชื้นต่ำ ผลจะร่วง และผลมักมีขนาดเล็ก และควรปลูกร่วมกับพันธุ์ HAES 660 เพื่อช่วยในการผสมเกสร

การเลือกซื้อพันธุ์มะคาเดเมีย
1.เป็นยอดพันธุ์ดีที่ได้จากแปลงผลิตพันธุ์ดี ตรงตามพันธุ์ และมีการจัดการแปลงตามมาตรฐาน GAP
2.เป็นยอดพันธุ์ที่สมบูรณ์ไม่แก่ไม่อ่อนเกินไป มีความยาวไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร โดยวัดจากยอด
3.ต้นตอได้จากเมล็ดพันธุ์พื้นเมือง/พันธุ์เฉพาะที่ต้องการ ที่มีความสมบูรณ์ ปราศจากโรคแมลงมีขนาดใกล้เคียงกับยอดพันธุ์ดี
4. ก่อนตัดกิ่งพันธุ์มาเพาะชำ ต้องให้รอยแผลประสานสนิท และรากมีการพัฒนาสมบูรณ์
5.ต้นพันธุ์ที่ได้จากการทาบกิ่ง ต้องชำในถุงเพาะชำตามมาตรฐานที่กำหนดขนาด 4×9 นิ้ว
6.ใช้วัสดุเพาะชำที่เหมาะสม โดยมีส่วนผสมของดิน : แกลบดิบ/ขุยมะพร้าว : ปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก ในอัตราส่วนโดยประมาณ 1 : 2 : 1 หรือใช้วัสดุที่หาได้ง่ายในพื้นที่ (ขุยมะพร้าวที่ใช้อัดตุ้มควรจะไม่เกิน 1 ปี)
7.ต้นพันธุ์มีความสูงไม่ต่ำกว่า 50 เซนติเมตร โดยวัดจากโคนต้นในระดับดินถึงปลายยอด
8.ต้นพันธุ์ที่พร้อมจำหน่ายหรือพร้อมปลูกต้องมีสภาพสมบูรณ์แข็งแรง ไม่ปรากฏอาการของการขาดธาตุอาหาร หรือการทำลายของโรคและแมลง
10.ต้องชำในภาชนะที่บรรจุไม่ต่ำกว่า 2 เดือน และไม่เกิน 8 เดือน หากพ้นกำหนดต้องมีการเปลี่ยนภาชนะบรรจุให้มีขนาดใหญ่ขึ้นตามความเหมาะสม
11.ต้องมีป้ายตามมาตรฐานที่กำหนด ติดกับต้นพันธุ์และสามารถตรวจสอบได้

การขยายพันธุ์ - ทาบกิ่ง ติดตา เสียบยอด โดยใช้ต้นตอจากการเพาะเมล็ด Macadamia tetraphylla คือ ชนิดเมล็ด ผิวขรุขระ (rough shell type) ซึ่งมีการเจริญเติบโตเร็ว แข็งแรง และต้นตอสามารถใช้ทาบได้เร็วกว่าต้นตอ M. integrifolia

การปลูกและดูแลรักษา

ระยะปลูก 8 x 10 เมตร และปลูกพืชแซมระหว่างแถวช่วง 10 ปีแรก ขนาดหลุม 75 x 75 x 75 เซนติเมตร หรือ 1 x 1 x 1 เมตร ขึ้นกับความอุดมสมบูรณ์ของดิน รองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟตหลุมละ 1 – 2 กก. ร่วมกับปุ๋ยคอก ปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยหมัก

การใส่ปุ๋ย ปีที่ 1,2,3 และ 4 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ต้นละ 400,800,1200และ 1800 กรัม และผสมยูเรีย 45,90,135 และ 180 กรัม ตามลำดับ ปีที่ 5 เป็นต้นไป ใช้ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 หรือ 13-13-21 อัตราต้นละ 2.5 กก. และเพิ่มขึ้นปีละ 500-600 กรัมและผสมยูเรียเพิ่ม 10 % และโปแตสเซียม 15 %ของปุ๋ยสูตรทุกปี แบ่งใส่ปีละ 4 ครั้ง คือช่วง 3 เดือนก่อนออกดอก (ต.ค – พ.ย) ระยะติดผลขนาดเล็ก ระยะต้นฝนและปลายฝน

การให้น้ำ ควรให้น้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ระยะติดผล และผลกำลังพัฒนาไม่ควรขาดน้ำ

การตัดแต่งกิ่ง การตัดแต่งกิ่งทำระยะแรกที่เริ่มปลูกคือ 6 – 12 เดือนแรก เพื่อบังคับให้มีกิ่งหรือต้นประธานเพียง 1 กิ่ง เมื่อกิ่งประธานสูงเกิน 80 – 100 ซม. และยังไม่แตกกิ่งข้างต้องเด็ดยอดกิ่งประธานออก เพื่อให้กิ่งข้างแตกอย่างน้อย 2 – 3 กิ่ง และเลือกกิ่งตั้งตรงเพื่อใช้เป็นกิ่งประธานต่อไป หลังติดผลจะตัดเฉพาะกิ่งที่เป็นโรคและแน่นเกินไป

พื้นที่ปลูกเหนือระดับน้ำทะเล ช่วงออกดอก ช่วงเก็บเกี่ยว อายุเก็บเกี่ยว(วัน)
800 – 1,200 ม. พ.ย.-ก.ย. มิ.ย.-ก.ย. 180-240
ก.ค.-ส.ค. เม.ย.-พ.ค. 180-210
ต่ำกว่า 800 ม. ธ.ค.-ก.พ. ก.ค.-ก.ย. 180-210

การเก็บเกี่ยว บนที่สูงออกดอกช่วง พ.ย.-ธ.ค. และก.ค.-ส.ค. อายุตั้งแต่ดอกบานถึงแก่ประมาณ 6 – 9 เดือน ขึ้นกับสถานที่ปลูก พื้นที่ที่สูงยิ่งเก็บเกี่ยวได้ช้า มะคาเดเมียเมื่อแก่ จะร่วงลงพื้น หลังเก็บผลต้องรีบกะเทาะเปลือกเขียวข้างนอกออก เพราะถ้าผลกองรวมซ้อนกันมาก ๆ จะเกิดความร้อนทำให้เนื้อในคุณภาพไม่ดี การเก็บเมล็ดหลังกะเทาะเปลือกนอกควรผึ่งในที่ที่มีลมพัดผ่านสะดวกหรือวางบนตะแกรงเป็นชั้น ๆ เพื่อลดความชื้นก่อนเข้าตู้อบเพื่อกะเทาะเปลือกแข็ง

ผลผลิต หลังปลูก 4 – 5 ปี เริ่มให้ผลผลิตปีแรก 1 – 3 กก./ต้น และเพิ่มขึ้นทุกปี อายุ 10 ปีขึ้นไป ให้ผลผลิต 20 – 30 กก./ต้น อายุ 20 ปีขึ้นไป 40 – 60 กก./ต้น สามารถมีอายุไม่น้อยกว่า 50 ปี ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา

การขายผลผลิต สามารถขายในรูปเมล็ดทั้งกะลา ความชื้นประมาณ 10 – 15 % หรือกะเทาะกะลาออกและขายเนื้อในดิบ ความชื้นประมาณ 1.5 3 % ราคาจำหน่ายผลผลิตมะคาเดเมีย ตั้งแต่ ปี 2557 พบว่ามะคาเดเมียมีราคาต่อกิโลกรัมละ 278.22 บาท ในปี 2558-2559 กลับลดลง และเพิ่มสูงขึ้นในปี 2560-61 ราคา 246.12 บาทต่อกิโลกรัม

โรคและแมลงศัตรูพืช

โรคที่สำคัญ

โรคโคนเน่าหรือเปลือกผุเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อรา พบได้ทั้งระยะต้นกล้าและระยะต้นโต ถ้าเป็นโรคระยะต้นกล้า ใบจะแสดงอาการสีเหลืองซีด เหี่ยวคล้ายอาการขาดน้ำ บริเวณโคนต้นกล้าเป็นแผลเน่าดำ ถ้าเป็นโรคระยะต้นโต ทำให้เปลือกของต้นแตก เน่าและผุ
การป้องกันกำจัด : ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ในแปลงที่พบโรค หลังจากใช้เครื่องมือทาง การเกษตรกับพืชแต่ละต้น ต้องทำความสะอาดเครื่องมือทุกครั้ง ก่อนที่จะนำไปใช้กับต้นอื่น ทำทางระบายน้ำ ป้องกันน้ำท่วมขังบริเวณโคนต้น ถ้าพบโรคในระยะต้นกล้า ควรรีบนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที และราดดินบริเวณที่เป็นโรคด้วยสารอีไตรไดอะโซล 24% อีซี อัตรา 50-100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อเริ่มพบอาการของโรค ให้ถากเปลือกและเนื้อไม้บริเวณที่เกิดแผลเปื่อยออก ทำความสะอาดแผลด้วยน้ำสะอาด แล้วทาบริเวณแผลด้วยสาร เมทาแลกซิล+แมนโคเซบ 72% ดับเบิ้ลยูพี หรือสารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร

แมลงศัตรูและการป้องกันกำจัด

1.เพลี้ยอ่อนดำส้ม (black citrus aphid : Toxoptera aurantii (Boyer de Fonscolombe) เพลี้ยอ่อนทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัย อาศัยดูดกินน้ำเลี้ยงบนยอดอ่อน กิ่งอ่อน ดอกตูม พบในระยะแตกยอดอ่อน และระยะดอก มักอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม
การป้องกันกำจัด : ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ลดความทึบของทรงพุ่ม เพื่อลดการสะสมของแมลง ทำความสะอาดแปลงและหมั่นตรวจดูตามยอดอ่อน ใบอ่อน อยู่เสมอ เมื่อพบการเข้าทำลาย ให้ตัดบริเวณที่ถูกทำลายออกไปเผาทำลายนอกแปลง

2.เพลี้ยไฟ พบ 4 ชนิด คือ เพลี้ยไฟหลากสี (color thrips : Thrips coloratus Schmutz) เพลี้ยไฟพริก (chili thrips : Scirtothrips dorsalis Hood) เพลี้ยไฟมะละกอ (papaya thrips : Thrips parvispinus Karny) และเพลี้ยไฟดอกถั่ว (flower bean thrips : Megalurothrips usitatus Bagnall) เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้าเลี้ยงบริเวณยอดอ่อน ดอก และผล โดยเฉพาะในระยะเริ่มติดผล
การป้องกันกำจัด : ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ลดความทึบของทรงพุ่ม เพื่อลดการสะสมของแมลง ทำความสะอาดแปลงและหมั่นตรวจดูตามยอดอ่อน ใบอ่อน กิ่ง ก้าน ใบ ผล อยู่เสมอ

3.เพลี้ยแป้งแปซิฟิค (Pacific mealybug : Planococcus minor (Maskell)) เพลี้ยแป้งทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงบนยอดอ่อน ขั้วผล โดยอาศัยอยู่เป็นกลุ่มๆ
การป้องกันกำจัด : ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ลดความทึบของทรงพุ่ม เพื่อลดการสะสมของแมลง ทำความสะอาดแปลงและหมั่นตรวจดูตามยอดอ่อน ใบอ่อน กิ่ง ก้าน ใบ อยู่เสมอ เมื่อพบการเข้าทำลาย ให้ตัดบริเวณที่ถูกทำลายออกไปเผาทำลายนอกแปลง พ่นไวท์ออย 67%EC อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ พ่นสารฆ่าแมลง ได้แก่ ไดโนทีฟูแรน 10%WP อัตรา 20 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ไทอะมีโทแซม 25%WG อัตรา 3 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร และอิมิดาโคลพริด 70% WG อัตรา 4 กิโลกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร

4.เพลี้ยหอยเกล็ด (lesser snow scale : Pinnaspis buxi (Bouché)) เพลี้ยหอยเกล็ดดูดกินน้ำเลี้ยงบริเวณยอด กิ่ง และลาต้น
การป้องกันกำจัด : ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ลดความทึบของทรงพุ่ม เพื่อลดการสะสมของแมลง ทeความสะอาดแปลงและหมั่นตรวจดูตามยอดอ่อน ใบอ่อน กิ่ง ก้าน ใบ อยู่เสมอ เมื่อพบการเข้าทำลาย ให้ตัดบริเวณที่ถูกทำลายออกไปเผาทำลายนอกแปลง พ่นไวท์ออย 67%EC อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

5.หนอนเจาะผล พบ 2 ชนิด คือ หนอนเจาะผลเงาะ (rambutan fruit borer : Deudoric epijarbas (Moore) และ หนอนเจาะผล (yellow peach moth : Conogethes punctiferalis (Guenée)) ตัวหนอนเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในผล โดยพบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

การป้องกันกำจัด : ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง ลดความทึบของทรงพุ่ม เพื่อลดการสะสมของแมลง เก็บผลที่ร่วงหล่นไปฝังหรือเผาไฟ เพื่อป้องกันการระบาดในฤดูต่อไป

สัตว์ศัตรูมะคาเดเมียและการป้องกันกำจัด
-กลุ่มกระรอก (Squirrel family; Sciuridae) ได้แก่ กระรอกดินข้างลาย (Menetes berdmori), กระรอกหลากสี (Variable Squirrel, Collosciurus finlaysoni) และ กระเล็น (Himalayan striped squirrel, Tamiops macclelend)
-กลุ่มหนู (Rat and mice family; Muridae) ได้แก่ หนูฟานเหลือง (Maxomys surifer), หนูป่าอินโดจีน (Indochinese forest rat, Rattus andamanensis) หนูขนเสี้ยน (spiny rats, Niviventer sp.) หนูท้องขาวบ้าน (Rattus rattus) และ หนูหริ่งป่าเล็กขนเสี้ยน (Mus pahari)
-กลุ่มอ้น (Mole rat family; Rhizomyidae) ได้แก่ อ้นใหญ่ (Rhizomys sumatrensis) ลักษณะการทำลาย จะเริ่มทาลายผลมะคาเดเมีย เมื่อผลแก่ใกล้เก็บเกี่ยว และยังนาเอาผลไปกินในรัง หรือที่อื่น ๆ ทำให้ผลผลิตเสียหาย ผลผลิต และคุณภาพลดลง

การป้องกันกำจัด ในกรณีกระรอก วางกรงดักที่มีกล้วยหรือขนุนเป็นเหยื่อล่อ มัดติดกับกิ่งไม้ในทรงพุ่ม บนต้น และในกรณีหนู วางกรงดักที่มีข้าวโพดเป็นเหยื่อล่อโดยวางที่โคนต้น หรือใช้สารกาจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้า ได้แก่ โบรดิฟาคูม (คลีแร็ก 0.005 เปอร์เซ็นต์) หรือ โฟลคูมาเฟน (สะตอม 0.005 เปอร์เซ็นต์) ชนิดก้อนขี้ผึ้ง หนักก้อนละ 5 กรัม โดยวางใส่ท่อพีวีซีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 9 เซนติเมตร ยาวประมาณ 50เซนติเมตร ท่อละ 3 ก้อนที่โคนต้นมะคาเดเมีย ทุก ๆ 3 ต้น ต่อ 1 ท่อ โดยวางตั้งแต่มะคาเดเมียเริ่มออกดอก จนกระทั่งเก็บเกี่ยว ทาการตรวจและเติมสารกาจัดหนูทุก ๆ 10 วัน ถ้าจุดใดหนูกินสารกาจัดไปเท่าใดให้เติมสารกำจัดหนูแทนที่จานวนที่หนูกินไป

ข้อควรคำนึงในการปลูกมะคาเดเมีย

1.พื้นที่ที่มีการระบายน้ำดี หน้าดินลึก
2.ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1,000 มม./ต่อปี
3.อุณหภูมิ 10 – 32 C
- ฤดูหนาว มีอุณหภูมิ 18 C ต้นมะคาเดเมียต้องได้รับอุณหภูมิต่ำ เป็นระยะเวลาประมาณ 1 เดือน เพื่อกระตุ้นการออกดอก
- ฤดูร้อน อุณหภูมิไม่ควรเกิน 32 C เพราะจะทำให้กะลาแข็งตัวเร็ว เนื้อในเล็กและพืชชะงักการเจริญเติบโต
4..ความชื้นบรรยากาศ ช่วงออกดอกและเริ่มติดผล ควรได้รับความชื้นสัมพัทธ์ มากกว่า 75 %
5.แสงแดด ควรได้รับแสงแดดวันละ 10 – 12 ชม. เพื่อปรุงอาหารได้เต็มที่ ทำให้เนื้อในมีคุณภาพดีขึ้น

เทคนิคการดูแลมะคาเดเมีย

1. จำนวนพันธุ์ปลูกใน 1 พื้นที่ ควรปลูกหลายพันธุ์ในพื้นที่เดียวกัน เพื่อช่วยการผสมเกสรและเพิ่มเปอร์เซ็นการติดผล
2. ควรมีไม้บังลมเพราะมีระบบรากตื้นทำให้โค่นล้มง่าย
3. การให้น้ำ ควรเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ในช่วงฤดูแล้ง หากขาดน้ำจะทำให้ผลร่วงและมีขนาดเล็ก
4. ความคุ้มทุน ผลผลิตจะคุ้มทุนประมาณปีที่ 12 – 14 ขึ้นกับการดูแลรักษาและควรปลูกพืชแซมช่วง 10 ปีแรก
5. พื้นที่ปลูกที่เหมาะสมควรเป็นพื้นที่ที่มีความสูง 700 เมตรขึ้นไป จากระดับน้ำทะเล ถ้าเป็นพื้นที่ต่ำกว่า 700 เมตร คือ 400 – 600 เมตร ควรอยู่ในเขตเส้นรุ้งที่ 19.8 องศาเหนือขึ้นไป ได้แก่พื้นที่ทางภาคเหนือตอนบน

แหล่งผลิตพันธุ์

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ศูนย์พัฒนาเกษตรที่สูงเชียงราย (วาวี) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก (ดอยมูเซอ) ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบูรณ์ (เขาค้อ)

 

 

โดย สัจจะ ประสงค์ทรัพย์
Satja Prasongsap (Research Scientist)
Horticultural Research Institute
E-mail : herbdoa@gmail.com

Category: VDO, พืชไม้ผล, พืชไม้ผล บ-ม

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news