กลุ่มสารฆ่าแมลงและไรตามกลไกการออกฤทธิ์
กลุ่มสารฆ่าแมลงและไรตามกลไกการออกฤทธิ์
1. สารกลุ่มยับยั้งเอนไซม์อะเซททิลโคลินเอสเทอเรส สารกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท โดยเป็นตัวยับยั้งการทำงาน (inhibitor) ของเอนไซม์อะเซทิลโคลินเอสเทอเรส ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสารสื่อประสาทชนิด acetyl choline ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดกระแสประสาทที่บริเวณปลายประสาท (synapse)จากเซลประสาทหนึ่งไปสู่อีกเซลประสาทหนึ่งในระบบประสาทส่วนกลางของแมลง (central nervoussystem, CNS) การยับยั้งการทำงานของเอนไซม์อะเซทิลโคลินเอสเทอเรสทำให้มีการคั่งของสารสื่อประสาท acetyl choline ที่บริเวณปลายประสาทในปริมาณมาก ส่งผลให้เกิดการถ่ายทอดกระแสประสาทไม่หยุดและเกิดมากเกินไป (hyperexcitation) จนทำให้แมลงตาย
- 1A สารคาร์บาเมท (Carbamates)Alanycarb, Aldicarb, Bendiocarb, Benfuracarb,Butocarboxim, Butoxycarboxim, Carbaryl,
Carbofuran, Carbosulfan, Ethiofencarb,Fenobucarb, Formetanate, Furathiocarb,Isoprocarb, Methiocarb, Methomyl,Metolcarb, Oxamyl, Pirimicarb, Propoxur,Thiodicarb, Thiofanox, Triazamate,Trimethacarb, XMC, Xylylcarb
- 1B สารออร์แกนโนฟอสเฟต(Organophosphates)Acephate, Azamethiphos, Azinphos-ethyl,Azinphosmethyl, Cadusafos, Chlorethoxyfos,Chlorfenvinphos, Chlormephos, Chlorpyrifos,Chlorpyrifos-methyl, Coumaphos, Cyanophos,Demeton-S-methyl,Diazinon, Dichlorvos/DDVP, Dicrotophos, Dimethoate,Dimethylvinphos, Disulfoton, EPN, Ethion,Ethoprophos, Famphur, Fenamiphos,Fenitrothion, Fenthion, Fosthiazate,Heptenophos, Imicyafos, Isofenphos,Isopropyl O(methoxyaminothio-phosphoryl)salicylate, Isoxathion, Malathion, Mecarbam,Methamidophos, Methidathion, Mevinphos,Monocrotophos, Naled, Omethoate,Oxydemeton-methyl, Parathion, Parathionmethyl,Phenthoate, Phorate, Phosalone,Phosmet, Phosphamidon, Phoxim,Pirimiphosmethyl,Profenofos, Propetamphos,Prothiofos, Pyraclofos, Pyridaphenthion,Quinalphos, Sulfotep, Tebupirimfos,Temephos, Terbufos, Tetrachlorvinphos,Thiometon, Triazophos, Trichlorfon,Vamidothion
2. สารกลุ่มที่หยุดการทำงานของช่องคลอไรด์ที่ทำงานโดยกรดแกมมา อะมิโนบิวไทริค (GABA) สารกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทโดยไปขัดขวาง (block) การทำงานของช่องคลอไรด์ที่ทำงานโดยกรดแกมมาอะมิโนบิวไทริค(GABA-gated chloride channel) ทำให้ไม่สามารถลดระดับการส่งกระแสประสาทได้ นอกจากนี้สารกลุ่มนี้บางชนิดยังสามารถขัดขวางการทำงานของช่องคลอไรด์ที่ทำงานโดยกลูตาเมท (Glutamate-gatedchloride channel) ได้ด้วย เช่นสารฟิโปรนิล ซึ่งจะทำให้ chloride ion ไม่สามารถไหลเข้าไปภายในเซลประสาทเพื่อลดระดับกระแสประสาท (potential) ทำให้มีการส่งกระแสประสาทมากผิดปกติ(hyperexitation)
- 2A สารไซโคลไดอีน (Cyclodiene)Chlordane, Endosulfan
– 2B สารฟีนีลไพราโซล(Phenylpyrazoles)Ethiprole, Fipronil
3. สารกลุ่มที่ปรับการทำงานของช่องโซเดียม สารกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทโดยจะไปปรับ (modulator) ของ voltagegatedsodium channel ที่บริเวณผิว axon ของเซลประสาท ทำให้การปิดของ voltage-gated sodiumchannel ช้ากว่าปกติ ทำให้ช่วงการถ่ายทอดกระแสประสาทเกิดยาวนาน (hyperexitation) สารกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ได้รวดเร็วมาก ทำให้แมลงตายทันทีเมื่อแมลงได้รับสารโดยเรียกอาการตายทันทีว่า“knockdown”
-3 A สารไพรีทริน (Pyrethrins) และไพรีทรอยด์ (Pyrethroids)Acrinathrin, Allethrin, d-cis-trans Allethrin, dtransAllethrin, Bifenthrin, Bioallethrin,Bioallethrin S-cyclopentenyl isomer ,Bioresmethrin, Cycloprothrin, Cyfluthrin, beta-Cyfluthrin,Cyhalothrin, lambda-Cyhalothrin,gamma-Cyhalothrin, Cypermethrin,alpha-Cypermethrin, beta-Cypermethrin,thetacypermethrin, zeta-Cypermethrin,Cyphenothrin , (1R)-trans- isomers],Deltamethrin, Empenthrin (EZ)-(1R)- isomers],Esfenvalerate, Etofenprox, Fenpropathrin,Fenvalerate, Flucythrinate, Flumethrin, tau-Fluvalinate, Halfenprox, Imiprothrin,Kadethrin,Permethrin, Phenothrin [(1R)-transisomer],Prallethrin, Pyrethrins (pyrethrum),Resmethrin, Silafluofen, Tefluthrin,Tetramethrin, Tetramethrin [(1R)-isomers],Tralomethrin, Transfluthrin,
- 3B สารดีดีที (DDT) และเมท็อกซีคลอร์(Methoxychlor)DDT, Methoxychlor
4. สารกลุ่มที่ปรับการทำงานของตัวรับสารอะเซติลโคลีนชนิดนิโคตินิกโดยการจับแบบแข่งขัน สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้เป็นสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทคล้ายกับสารนิโคตินที่พบในใบยาสูบ โดยสารจะเลียนแบบ (agonist) การทำงานของสารสื่อประสาท acetylcholine สารกลุ่มนี้จะไปแข่งขัน (แย่งกัน) กับสารอะเซติลโคลีนในการจับที่ตัวรับสารอะเซติลโคลีนชนิดนิโคตินิก (nicotinicacetylcholine receptor, nAChR) ที่ผิวของปลายเซลประสาทบริเวณ synapse แล้วกระตุ้นให้ nAChRsทำงานในการส่งกระแสประสาทที่มากผิดปกติ(overstimulation) ในระยะแรก ส่วนระยะต่อมาเมื่อสารฆ่าแมลงกลุ่มนี้จับที่ตัวรับสารอะเซติลโคลีนชนิดนิโคตินิกนานๆ จะทำให้ตัวรับเปลี่ยนรูปทรงไปเป็นรูปทรงที่ไม่สามารถทำงานได้ (desensitized) หรือnAChD สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้มีพิษสูงมากต่อผึ้ง จึงไม่ควรใช้ในพืชช่วงที่พืชกำลังออกดอกและมีผึ้งมาช่วยผสมเกสร
-4A สารนีโอนิโคตินอยด์(Neonicotinoids)Acetamiprid, Clothianidin, Dinotefuran,Imidacloprid, Nitenpyram, Thiacloprid,
Thiamethoxam
– 4B Nicotine
– 4C Sulfoximines
– 4D สารบูทีโนไลด์ (Butenolides) Flupyradifurone
– 4E สารเมโสไอโอนิกส์ (Mesoionics) Triflumezopyrim
5. สารกลุ่มที่ปรับการทำงานของตัวรับสารอะเซติลโคลินชนิดนิโคตินิกโดยการจับที่ตำแหน่งแอลโลสเตอริกที่ตำแหน่งที่ 1 สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท โดยจะไปจับที่ตัวรับสารอะเซติลโคลินชนิดนิโคตินิก (nicotinic acetylcholine receptors,nAChRs) ที่ตำแหน่งแอลโลสเตอริกที่ตำแหน่งที่ 1 ที่ผิวของปลายเซลประสาทบริเวณ synapse ซึ่งจะแตกต่างจากสารกลุ่ม 32 โดยสารฆ่าแมลงในกลุ่ม 5 จะไปจับที่ nAChRs ในตำแหน่ง macrocycliclactone site ซึ่งอยู่ห่างจากตำแหน่งที่สารฆ่าแมลงที่อยู่ในกลุ่ม 4 จับ (สารฆ่ากลุ่ม 4 จับที่ nAChRs ในตำแหน่งที่ acetylcholine จับ) การจับของสารฆ่าแมลงในกลุ่ม 5 จะกระตุ้นให้ nAChRs ทำงานในการส่งกระแสประสาทมากผิดปกติ (hyperexcitation) คล้ายๆ กับสารฆ่าแมลงที่อยู่ในกลุ่ม 4 ได้แก่ Spinetoram, Spinosad
6. สารกลุ่มที่ปรับการทำงานของช่องคลอไรด์ที่ทำงานโดยกลูตาเมตโดยการจับที่ตำแหน่งแอลโลสเตอริก สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยจะไปยับยั้งการนำกระแสประสาทระหว่างเซลประสาทและเซลกล้ามเนื้อ โดยสารกลุ่มอะเวอเมคตินจะไปกระตุ้นการจับของ glutamate ที่ Glutamate-gated chloridechannels (GluCls) บริเวณปลายเซลประสาทที่เชื่อมต่อกับเซลกล้ามเนื้อ ทำให้คลอไรด์ไอออนจำนวนมากไหลผ่านช่องคลอไรด์เข้าไปในเซลประสาท จึงเกิดการยับยั้งกระแสประสาท หรือเกิดhyperpolarization ขึ้น และทำให้กล้ามเนื้อแมลงเป็นอัมพาต ได้แก่ Abamectin, Emamectin benzoate, Lepimectin, Milbemectin
7. สารกลุ่มเลียนแบบฮอร์โมนจูวีไนล์ สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ขัดขวางกระบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของแมลง (metamorphosis) จากตัวอ่อน (larval stage)ไปเป็นตัวเต็มวัย (adult stage) โดยสารกลุ่มนี้จะไปเลียนแบบการทำงานของฮอร์โมนจูวีไนล์ (Juvenilehormone, JH) โดย การเข้าไปจับที่ juvenilehormone receptor ทำให้เกิดการยับยั้งการแสดงออกของยีน (gene expression) ต่างๆ ที่จำเป็นในขบวนการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของแมลง(metamorphosis) ส่งผลให้แมลงมีการลอกคราบที่ไม่สมบูรณ์ สภาพเป็นตัวอ่อนผิดปกติ และไม่สามารถเจริญเป็นตัวเต็มวัยได้ นอกจากนี้สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ยังมีผลในการฆ่าไข่ของแมลง (ovicidal effect) อีกด้วย
- 7A สารจูวีไนล์ฮอร์โมนอานาล็อก(Juvenile hormone analoguesHydroprene, Kinoprene, Methoprene
- 7B Fenoxycarb
- 7C Pyriproxyfen
8. สารกลุ่มที่ยับยั้งกลไกการทำงานของร่างกายแบบไม่เฉพาะเจาะจง (ยับยั้งหลายจุด) สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้เป็นสารที่ว่องไวในการทำปฏิกิริยา สารจะไปจับที่โปรตีนต่างๆในร่างกายแมลงแล้วเปลี่ยนแปลงโครงสร้างความจำเพาะเจาะจงของโปรตีนนั้นๆ ทำให้โปรตีนในอวัยวะต่างๆ มีโครงสร้างผิดปกติและไม่สามารถทำงานตามหน้าที่ได้ สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้จึงมีผลในการยับยั้งกลไกการทำงานของร่างกายอย่างไม่จำเพาะเจาะจงได้ในหลายๆ จุด
- 8A แอลคิล เฮไลด์ (Alkyl halides)Methyl bromide
– 8B คลอโรพิคริน (Chlorpicrin)
– 8C ฟลูออไรด์ (Fluorides) Cryolite (Sodium aluminum fluoride), Sulfuryl fluoride
– 8D โบเรต (Borates) Borax, Boric acid, Disodium octaborate, Sodium borate, Sodium metaborate
– 8E ตาตา อีมีติกTatar emetic
– 8F สารที่ทำให้เกิดเมธิลไอโซไธโอไซยาเนท (Methyl isothiocyanate generators) Dazomet, Metam
9. สารกลุ่มที่ปรับการทำงานของช่อง TRPV ที่ Chordotonal organ สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท ไปปรับการทำงานของช่อง Transient receptor potential vanilloid (TRPVchannel) ใ น chordotonal organ ซึ่ งchordotonal organ เป็นอวัยวะรับความรู้สึกที่มีกระจายทั่วร่างกายแมลง มีหน้าที่สำคัญในการรับความรู้สึกต่างๆ เช่น การสัมผัสและประสานงานเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายให้เป็นไปตามปกติ ในแมลงพวกมวน (Homoptera) การทำงานของ chordotonal organ จะช่วยให้แมลงเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของปากในการดูดกินน้ำเลี้ยงพืชอย่างเป็นปกติ สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายของแมลงจะไปรบกวนการทำงานของ chordotonalorgan จึงทำให้แมลงไม่สามารถดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชได้ เกิดการหยุดดูดกินพืชอย่างรวดเร็ว ในปัจจุบันมักใช้สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ในการป้องกันกำจัด เพลี้ยจักจั่นเพลี้ยอ่อน และแมลงหวี่ขาว สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้มีพิษน้อยต่อแมลงที่มีประโยชน์
- 9B สารอนุพันธ์ของไพริดีน อะโซเมธีน (Pyridine azomethine) Pymetrozine, Pyrifluquinazon
- 9D สารไพโรพีน (Pyropenes)Afidopyropen
10. สารกลุ่มที่ยับยั้งการเจริญเติบโตของไรโดยไปจับที่เอนไซม์ chitin synthase (CHS1) สารกลุ่มนี้ยับยั้งการเจริญเติบโตของไรศัตรูพืช โดยสารจะไปจับที่เอนไซม์ chitinsynthase (CHS1) ทำให้ยับยั้งการสังเคราะห์สารไคติน (chitin) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของผนังลำตัวของไร สารชนิดนี้มีประสิทธิภาพในการฆ่าไข่ และตัวอ่อนไร ได้ดี แต่ไม่มีประสิทธิภาพในการฆ่าตัวเต็มวัยไร
– 10A Hexythiazox, Clofentezin, Diflovidazin
– 10B Etoxazole
11. สารกลุ่มจุลินทรีย์ที่ทำลายผนังเนื้อเยื่อลำไส้ส่วนกลางของแมลง สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ที่ลำไส้ส่วนกลางของแมลง โดยเชื้อบาซิลลัส ทูริงเจนซิสซึ่งเป็นแบคทีเรียแกรมบวกที่สามารถสร้างผลึกโปรตีนสารพิษในตัว เมื่อแมลงกินผลึกโปรตีนของเชื้อชนิดนี้ผลึกก็จะละลายภายใต้สภาพด่างของทางเดินอาหารของแมลง และปลดปล่อยสารพิษ (Cry toxins)ออกมา สารพิษที่ถูกปลดปล่อยออกมาตอนแรกยังอยู่ในสภาพที่ไม่เป็นพิษ (protoxin) ต่อมาน้ำย่อยภายในทางเดินอาหารของแมลงจะย่อยสารพิษที่อยู่ในสภาพที่ไม่เป็นพิษจนกลายเป็นสารที่เป็นพิษ (toxin) ต่อแมลง สารพิษนี้จะไปจับกับcadherin ที่บริเวณผิวของทางเดินอาหารส่วนกลาง ทำให้เกิดการสร้างรู (pores)ที่ผนังทางเดินอาหารของแมลง ทำให้เกิดการสูญเสียสมดุลของร่างกาย เช่น สมดุลของไอออนต่างๆ แมลงเกิดอาการป่วยและติดเชื้อในกระแสโลหิตตาย(septicemia)
- 11A บาซิลลัส ทูรินเยนสิส (Bacillus thuriniensis) และโปรตีนสารพิษที่สร้างขึ้นมาของ Bacillus thuringiensis subsp. israelensis Bacillus thuringiensis subsp. aizawai Bacillus thuringiensis subsp. kurstaki Bacillus thuringiensis subsp. Tenebrionis
- 11B บาซิลลัส สเฟียริคัส (Bacillus sphaericus) และโปรตีนสารพิษที่สร้างขึ้นมา
12. สารกลุ่มที่ยับยั้งเอนไซม์เอทีพี ซินเธส ในไมโตคอนเดรีย สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์กับระบบผลิตพลังงาน โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ATP synthase ใน mitochondria เอนไซม์นี้ทำหน้าที่ในการสังเคราะห์ ATP ซึ่งเป็นสารที่เซลใช้เป็นแหล่งพลังงานในการทำกิจกรรมต่างๆ ดังนั้นสารฆ่าแมลงกลุ่มนี้จึงทำให้เซลต่างๆ ของแมลงขาดพลังงาน
– 12A ไดอะเฟนไธยูรอนDiafenthiuron
– 12B ออร์แกนโนติน ไมติไซด์ (Organotin miticides) Azocyclotin, Cyhexatin, Fenbutatin oxide
– 12C โพรพาไกท์ Propagite
– 12D เตตราไดฟอน Tetradifon
13. สารกลุ่มอันคับเพล่อ (uncouplers) ที่รบกวนการเกิดปฏิกิริยาเติมหมู่ฟอสเฟต (การสร้าง ATP) โดยขัดขวางการเกิดความต่างระดับของโปรตอน สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์กับระบบผลิตพลังงาน โดยสารจะเข้าไปรับโปรตอนจากบริเวณกลางๆ ของผนังชีวภาพภายในไมโตคอนเดรีย(inner membrane) ที่มีโปรตอนปริมาณมากๆ และส่งโปรตอนข้ามผนังชีวภาพเข้าไปตรงบริเวณช่องว่าง(matrix) ด้านในสุดของไมโตคอนเดรีย จากนั้นสารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ก็จะข้ามผนังชีวภาพกลับเข้ามาอีกเพื่อไปรับโปรตอนจากบริเวณกลางๆ ของผนังชีวภาพภายในไมโตคอนเดรียอีก แล้วส่งโปรตอนเข้าไปภายในบริเวณช่องว่างของไมโตคอนเดรียอีก ทำเช่นนี้ซ้ำกันเรื่อยๆจึงเป็นการขัดขวางการเกิดความต่างระดับของโปรตอนภายในไมโตคอนเดรีย ทำให้ไม่สามารถสังเคราะห์ ATP ได้ แมลงจึงขาดพลังงานและตายในที่สุด ได้แก่ Chlorfenapyr, DNOC, Sulfluramid
14. สารกลุ่มที่ขวางช่องของตัวรับสารอะเซติลโคลินชนิดนิโคตินิก สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์กับระบบประสาทสารกลุ่มนี้ได้แก่ สารพวก
thiocarbamate หรือ สารเนรีสท็อกซิน อานาล็อก (nereistoxin analogues) เช่น bensultap, cartap hydrochloride, thiocyclam, thiosultap-sodium สารกลุ่มนี้เป็น proinsecticides ทั้งหมด หมายความ ว่าสารกลุ่มนี้ไม่มีพิษต่อแมลงโดยทันที แต่เมื่อแมลงได้รับสารกลุ่มนี้เข้าสู่ร่างกาย สารจะถูกเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเคมีจนกลายเป็นสารอีกชนิดหนึ่งที่เรียกว่า เนรีสท็อกซิน (nereistoxin) ซึ่งจะมีพิษสูงต่อแมลงโดยจะไปขวาง (block) ที่ช่องทางผ่านของไอออนของตัวรับสารอะเซติลโคลินชนิดนิโคตินิก(nicotinic acetylcholine receptors) ท ำ ใ ห ้ไ ม่สามารถส่งกระแสประสาทได้ และเป็นอัมพาต เช่น Bensultap, Cartap hydrochloride, Thiocyclam, Thiosultap-sodium
15. สารกลุ่มที่ยับยั้งการสังเคราะห์ไคตินโดยไปจับที่เอนไซม์ chitin synthase (CHS1) สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบการเจริญเติบโต สารกลุ่มนี้ได้แก่ สารกลุ่มเบนโซอิลยูเรีย ซึ่งเป็นสารอนุพันธ์ของยูเรีย (H2NCONH2)มีคุณสมบัติในการควบคุมการเจริญเติบโตของแมลงในระยะหนอนผีเสื้อ โดยสารจะไปจับกับเอนไซม์ chitinsynthase (CHS1) ทำให้ยับยั้งการสังเคราะห์สารไคติน (chitin) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของผนังลำตัวของหนอนผีเสื้อ เมื่อแมลงไม่มีสารไคตินที่ผนังลำตัวจึงทำให้แมลงตายในขั้นตอนการลอกคราบเนื่องจาก ผนังลำตัวที่สร้างขึ้นมาใหม่จะไม่แข็งแรงเปราะบางผิดปกติปริแตกง่าย ทำให้น้ำระเหยออกจากลำตัวแมลงได้ง่ายภายหลังการลอกคราบ แมลงจึงขาดน้ำตาย นอกจากนี้ผนังลำตัวที่สร้างขึ้นมาใหม่จะอ่อนนิ่มเกินไป ไม่สามารถพยุงโครงสร้างรูปทรงของอวัยวะต่างๆ ได้ ทำให้แมลงพิการ เช่น Bistrifluron, Chlorfluazuron, Diflubenzuron,Flucycloxuron, Flufenoxuron, Hexaflumuron, Lufenuron, Novaluron, Noviflumuron, Teflubenzuron, Triflumuron
16. สารกลุ่มที่ยับยั้งการสังเคราะห์ไคติน ชนิด 1 ฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบการเจริญเติบโตคล้ายกับสารฆ่าแมลงกลุ่ม 15 คือยับยั้งการสังเคราะห์สารไคติน แต่สารกลุ่ม 16 จะออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับแมลงปากดูดในอันดับHomoptera ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอยเพลี้ยจักจั่น เพลี้ยกระโดด และแมลงหวี่ขาว จึงแตกต่างกับสารกลุ่ม 15 ซึ่งจะออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับหนอนผีเสื้อและหนอนด้วงเท่านั้น เช่นBuprofezin
17. สารกลุ่มที่ขัดขวางการลอกคราบในพวกหนอนแมลงวัน สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบการเจริญเติบโต โดยขัดขวางการเจริญเติบโต
และพัฒนาของหนอนแมลงในอันดับ Diptera ซึ่งได้แก่ หนอนแมลงวันชนิดต่างๆ โดยการรบกวนการทำงานของระบบฮอร์โมนที่ควบคุมการลอกคราบ ทำให้ไม่สามารถลอกคราบตามปกติได้ เช่น Cyromazine
18. สารกลุ่มที่ทำให้ตัวรับฮอร์โมนเอคไดโซนทำงาน สารฆ่าแมลงในกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบการเจริญเติบโต สารกลุ่มนี้ได้แก่ สารกลุ่มไดเอซิลไฮดราซีน (diacylhydrazines) ซึ่งเป็นสารอนุพันธ์ของไฮดราซีน (H2N-NH2) สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง โดยจะไปเหนี่ยวนำให้แมลงเกิดการลอกคราบก่อนเวลาที่สมควร กลไกการออกฤทธิ์ของสารฆ่าแมลงกลุ่มนี้คือการเลียนแบบการทำงานของฮอร์โมนเอ็คไดโซน (ecdysone) ที่ทำหน้าที่ในการลอกคราบ โดยโมเลกุลของสารฆ่าแมลงจะไปจับกับตัวรับฮอร์โมนเอ็คไดโซน (ecdysone receptors) ทำให้ตัวรับฮอร์โมนเอ็คไดโซนเกิดการกระตุ้นและทำงานโดยส่งสัญญาณให้ยีนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการลอกคราบทำงาน (geneexpression) ในช่วงจังหวะเวลาที่ไม่เหมาะสม ผลที่ได้คือแมลงมีการสร้างผนังลำตัวใหม่ที่ผิดปกติ ไม่สมบูรณ์แมลงไม่สามารถลอกคราบเก่าออกจากลำตัวได้ ทำให้การลอกคราบผิดปกติและแมลงจะตายในที่สุด สารกลุ่มนี้ออกฤทธิ์กับหนอนผีเสื้อและหนอนด้วง ได้แก่ Chromafenozide, Halofenozide, Methoxyfenozide, Tebufenozide
19. สารกลุ่มที่ทำให้ตัวรับสารอ็อกโตปามีนทำงาน สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท โดยการทำหน้าที่คล้ายสารสื่อประสาทชนิดอ็อกโตปามีน (octopamine) ของแมลง ซึ่งสารสื่อประสาทชนิดอ็อกโตปามีนในแมลงนี้จะทำหน้าที่คล้ายฮอร์โมนอะดรีนาลีนในคน คือทำให้เกิดอาการตื่นตัว และมีพละกำลังมากเพื่อหนีหรือต่อสู้เอาชีวิตรอดจากภัยอันตราย เมื่อแมลงได้รับสารฆ่าแมลงกลุ่มนี้เข้าไปในร่างกาย สารจะไปจับที่ตัวรับสารอ็อกโตปามีน (octopamine receptor) แล้วกระตุ้นให้เกิดการผลิตสาร cAMP ในปริมาณที่สูงมากในเซล สาร cAMPที่ผลิตขึ้นมาจะไปกระตุ้นให้ร่างกายแมลงเกิดการตื่นตัวในระดับที่สูงมาก (hyperexcitation) จนเกิดอาการสั่น ควบคุมตัวเองไม่ได้ และไม่สามารถกินอาหารได้ เช่น Amitraz
20. สารกลุ่มที่ยับยั้งการขนส่งอิเลกตรอนที่คอมเพล็กซ์ 3 ในไมโตคอนเดรีย สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบการผลิตพลังงาน โดยการยับยั้งการขนส่งอิเลกตรอนที่โปรตีนคอมเพล็กซ์ 3 ในไมโตคอนเดรียของเซลจึงยับยั้งขบวนการผลิตพลังงานในรูป ATP และแมลงจะตายเนื่องจากการขาดพลังงาน
– 20A ไฮดราเมธิลนอน Hydramethylnon
– 20B อะซีควิโนซิล Acequinocyl
– 20C ฟลูอะไครไพริม Fluacrypyrim
– 20D ไบฟีนาเซท Bifenazate
21. สารกลุ่มที่ยับยั้งการขนส่งอิเลกตรอนที่คอมเพล็กซ์ 1 ในไมโตคอนเดรีย สารกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบการผลิตพลังงาน สารกลุ่มนี้สามารถฆ่าแมลงและไรโดยสารจะไปยับยั้งขบวนการถ่ายทอดอิเลคตรอนที่โปรตีนคอมเพล็กซ์ I ซึ่งอยู่ภายในไมโตคอนเดรีย(mitochondrial complex I electron transportinhibitors, MET I) จึงยับยั้งขบวนการผลิตพลังงานในรูป ATP ทำให้แมลงและไรเป็นอัมพาต (paralysis)และตายเนื่องจากการขาดพลังงาน สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์กว้างและออกฤทธิ์เร็วต่อแมลงทั้งปากกัดและปากดูด
- 21A เอ็มอีทีวัน อะคาริไซด์ (METI acaricides)Fenazaquin, Fenpyroximate, Pyridaben,Pyrimidifen, Tebufenpyrad, Tolfenpyrad
- 21B โรติโนน (Rotinone) Rotenone (Derris)
22. สารกลุ่มที่เป็นตัวขวางช่องโซเดียมที่ทำงานโดยความต่างศักย์ไฟฟ้า สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท โดยการไปขวาง (block) ที่ช่องทางผ่านของโซเดียม (sodium channels) ที่เซลประสาท จึงทำให้ไม่เกิดการถ่ายทอดกระแสประสาทและแมลงเป็นอัมพาต (paralyze)
- 22A อ๊อกซาไดอะซีน (Oxadiazines) Indoxacarb
– 22B เซมิคาร์บาโซน (Semicarbazones) Metaflumizone
23. สารกลุ่มที่ยับยั้งเอ็นไซม์อะเซทิล โคเอ คาร์บ็อกซิเลส สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบการเจริญเติบโต โดยยับยั้งเอนไซม์ acetyl coenzyme A carboxylase (ACCase) ซึ่งมีหน้าที่ในการสังเคราะห์กรดไขมัน (fatty acids) เพื่อนำไปสร้างผนังเซลของแมลงในกระบวนการเจริญเติบโตและพัฒนา แมลงที่ได้รับสารกลุ่มนี้จึงไม่สามารถสังเคราะห์กรดไขมันได้ ทำให้ตัวอ่อนแมลงหยุดการเจริญเติบโต ได้แก่ Spirodiclofen, Spiromesifen, Spiropidion, Spirotetramat
24. สารกลุ่มที่เป็นตัวยับยั้งการขนส่งอิเลคตรอนที่คอมเพล็กซ์ 4 ในไมโตคอนเดรีย สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบการผลิตพลังงาน ได้แก่ แก๊สฟอสฟีน(phosphine) และไซยาไนด์ ซึ่งออกฤทธิ์โดยสารจะไปยับยั้งขบวนการถ่ายทอดอิเลคตรอนที่โปรตีนคอมเพล็กซ ์ IV ซึ่งอยู่ภายในไมโตคอนเดรีย(mitochondrial complex IV electron transportinhibitors, MET IV) จึงยับยั้งขบวนการผลิตพลังงานในรูป ATP ทำให้แมลงตายเนื่องจากการขาดพลังงาน
- 24A ฟอสไฟด์ (Phosphides)Aluminium phosphide, Calcium phosphide, Phosphine, Zinc phosphide
– 24B ไซยาไนด์ (Cyanides)Calcium cyanide, Potassium cyanide, Sodiumcyanide
25. สารกลุ่มที่เป็นตัวยับยั้งการขนส่งอิเลคตรอนที่คอมเพล็กซ์ 2 ในไมโตคอนเดรียสารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบการผลิตพลังงาน โดยการยับยั้งขบวนการถ่ายทอดอิเลคตรอนที่โปรตีนคอมเพล็กซ์ II ซึ่งอยู่ภายในไมโตคอนเดรีย (mitochondrial complex IIelectron transport inhibitors, MET II) จ ึง ย ับ ยั้งขบวนการผลิตพลังงานในรูป ATP ทำให้แมลงตายเนื่องจากการขาดพลังงาน
- 25A อนุพันธุ์ของ Beta-ketonitrileม Cyenopyrafen, Cyflumetofen
- 25B คาร์บอกซานิไลด์(Carboxanilides) Pyflubumide
26. รอข้อมูล
27. รอข้อมูล
28. สารกลุ่มที่เป็นตัวปรับการทำงานของตัวรับชนิดไรยาโนดีน สารฆ่ากลุ่มนี้เป็นสารที่มีกลไกการออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยสารจะเข้าไปภายในเซลกล้ามเนื้อแมลง แล้วไปที่บริเวณsarcoplasmic reticulum ซึ่งเป็นที่เก็บสะสม calcium ion แล้วสารจะไปจับตรง ryanodinereceptors ที่อยู่บริเวณผิวของ sarcoplasmicreticulum ทำให้เกิดการกระตุ้นการปลดปล่อยcalcium ion ออกมาภายในเซล กล ้ามเนื้อ ซึ่งcalcium ion จะไปเหนี่ยวนำทำให้กล้ามเนื้อแมลงเกิดการหดตัว กล่าวได้ว่าสารฆ่ากลุ่มนี้ไปจับและกระตุ้นที่ryanodine receptors ทำให้เกิดการปลดปล่อย calcium ion ออกมาเรื่อยๆ จึงทำให้กล้ามเนื้อแมลงเกิดการหดตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่เกิดการคลายตัวกล้ามเนื้อแมลงจึงไม่สามารถทำงานเป็นปกติได้ เช่นกล้ามเนื้อส่วนปากไม่สามารถทำงานในการกัดกินใบพืชได้ แมลงไม่สามารถเดินหรือเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกาย และเป็นอัมพาต เช่น Chlorantraniliprole, Cyantraniliprole, Cyclaniliprole, Flubendiamide, Tetraniliprole
29. สารกลุ่มที่ปรับการทำงานที่ Chordotonal organ สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาท โดยไปปรับการทำงานของchordotonal organ โดยสารไปจับที่จุดจับอื่นซึ่งเป็นคนละจุดกับสารฆ่าแมลงในกลุ่ม 9 ซึ่ง chordotonalorgan เป็นอวัยวะรับความรู้สึกที่มีกระจายอยู่ทั่วร่างกายแมลง มีหน้าที่สำคัญในการรับความรู้สึกต่างๆเช่น การสัมผัสและประสานงานเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของร่างกายให้เป็นไปตามปกติในแมลงพวกมวน (Homoptera) การทำงานของchordotonal organ จะช่วยให้แมลงเคลื่อนไหวส่วนต่างๆ ของปากในการดูดกินน้ำเลี้ยงพืชอย่างเป็นปกติสารฆ่าแมลงกลุ่มนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายของแมลงจะไปรบกวนการทำงานของ chordotonal organ จึงทำให้แมลงไม่สามารถดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชได้ เช่น Flonicamid
30. สารที่ปรับการทำงานของ GABA-gated chloride channel ที่ตำแหน่งแตกต่างจากสารกลุ่ม 2 สารกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท โดยไปปรับการทำงาน (modulate) การทำงานของช่องคลอไรด์ที่ทำงานโดยกรดแกมมาอะมิโนบิวไทริค (GABA-gated chloride channel) ทำให้การการส่งกระแสประสาทผิดปกติ ได้แก่ Broflanilide, Fluxametamide
31. สารกลุ่ม Baculoviruses ที่มีความจำเพาะในการเกิดโรคต่อแมลง สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้เป็นไวรัสที่ออกฤทธิ์ที่ลำไส้ของแมลง ไวรัส baculovirus ชนิดต่าง ๆ จะทำลายแมลงต่าง order ต่าง ๆ ได้แตกต่างกัน เนื่องจาก baculovirus แต่ละชนิดจะมี baculovirusuniquePer os Infectivity Factor (PIF) proteinComplex ซึ่งจะช่วยในการจับกับ PIF targets ที่เซลลำไส้ส่วนกลางของแมลงได้ต่างกันสารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ ได้แก่ Granuloviruses (GVs) ซึ่งได้แก่ Cydia pomonella GV, Thaumatotibialeucotreta GV และ Nucleopolyhedroviruses(NPVs) ซึ่งได้แก่ Anticarsia gemmatalis MNPV, Helicoverpa armigera NPV
32. สารกลุ่มที่ปรับการทำงานของตัวรับสารอะเซติลโคลินชนิดนิโคตินิกโดยการจับที่ตำแหน่งแอลโลสเตอริกที่ตำแหน่งที่ 2 สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท โดยจะไปจับที่ตัวรับสารอะเซติลโคลินชนิดนิโคตินิก (nicotinic acetylcholine receptors, nAChRs) ที่ผิวของปลายเซลประสาท ที่ตำแหน่งที่ 2 ซึ่งจะแตกต่างจากสารกลุ่ม 5 สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ ได้แก่ GS-omega/kappa HXTXHv1aซึ่งป็น peptide ที่ได้จากพิษของแมงมุม
33. สารกลุ่มที่ปรับการทํางานของช่องโปแตสเซียมที่ทํางานโดยแคลเซียม (KCa2) สารกลุ่มนี้ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและกล้ามเนื้อ โดยไปปรับการทํางาน (modulate) ของช่องโปแตสเซียมที่ทํางานโดยแคลเซี่ยม (Calcium-activated potassium channel, KCa2) ทําให้การส่งกระแสประสาทผิดปกติ ได้แก่ acynonapyr เป็นสารกําจัดไร
34. สารกลุ่มที่ยับยั้งการขนส่งอิเลกตรอนที่คอมเพล็กซ์ 3 ตําแหน่ง Qi ในไมโตคอนเดรีย ออกฤทธิ์ต่อระบบการผลิตพลังงาน โดยการยับยั้งการขนส่งอิเลกตรอนที่โปรตีนคอมเพล็กซ์ 3 ตําแหน่ง Qi ในไมโตคอนเดรียของเซลล์จึงยับยั้งขบวนการผลิตพลังงานในรูป ATP และแมลงจะตายเนื่องจากการขาดพลังงาน ได้แก่ flometoquin
35. RNA interference mediate target suppressors ยั้งการทำงานเกี่ยวกับโปรตีน ลดระดับโปรตีน ได้แก่ Ledprona
36. Chordotonal organ modulators-undefined target site กลไกไปขัดขวางการทำงานของ chordotonal ในเรื่องการได้ยิน การทรงตัว การเคลื่อนไหวของร่างกาย ขัดขวางการกิน และพฤติกรรมอื่น ได้แก่ กลุ่มสาร Pyridazine pyrazolecarboxamides เช่น Dimpropyridaz
37 Vesicular acetylcholine transporter (VACHT) inhibitor สารกลุ่มนี้มีผลต่อ vesicular acetylcholine transporter กลไกไปยับยั้งการทำงานของ vesicular acetylcholine transporter ทำให้ acetylcholine ที่ถูกสังเคราะห์ในเซลปลายประสาทไม่สามารถอยู่ใน vesicle ทำให้ปลายประสาท axon ไม่สามารถปล่อยสารสื่อประสาทได้ ได้แก่ Oxazosulfyl
กลุ่ม UN (Unknown) ที่กลไกการออกฤทธิ์ยังไม่ทราบแน่ชัดสารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่นอนได้แก่ สาร azadirachtin สาร benzoximate สารbromopropylate สาร chinomethionat สาร dicofol สาร pyridalyl สาร sulfur สาร lime sulfur และสาร mancozeb
กลุุ่ม UNB (Unknown B) เป็นแบคทีเรีย (ที่ไม่ใช่ Bt) ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์ยังไม่ทราบแน่ชัดสารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่นอนได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย Burkholderia spp. และWolbachia pipientis (Zap)
กลุ่ม UNE (Unknown E) เป็นสารจากพืช ได้แก่ สารสังเคราะห์ สารสกัด และสารพวกน้ำมัน กลไกการออกฤทธิ์ยังไม่ทราบแน่ชัด สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่นอน ได้แก่ สารสกัดจากพืช Chenopodium ambrosioides near ambrosioides extract, สาร Fatty acid monoesters with glycerol หรือ propanediol จากพืช และสารพวกน้ำมันจากสะเดา (Neem oil)
กลุ่ม UNF (Unknown F) เป็นสารจากเชื้อรา ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์ยังไม่ทราบแน่ชัด สารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่นอน ได้แก่ เชื้อรา Beauveria bassiana strains, Metarhizium anisopliae strain F52 และ Paecilomyces fumosoroseus Apopka strain
กลุ่ม UNM (Unknown M) เป็นสารที่ไปขัดขวางการทำงานของโปรตีนทั่วไปที่ไม่จำเพาะเจาะจง โดยวิธีกล ซึ่งกลไกการออกฤทธิ์ยังไม่ทราบแน่ชัดสารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่นอนได้แก่ Diatomaceous earth
กลุ่ม UNP (Unknown P) เป็นเป็ปไตล์ของโปรตีน กลไกการออกฤทธิ์ยังไม่ทราบแน่ชัดสารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่นอนได้แก่ สารพวกเป็ปไทล์ของโปรตีนซึ่งเป็นพิษต่อแมลง
กลุ่ม UNV (Unknown V) เป็นไวรัส (ที่ไม่ใช่ Baculovirus) กลไกการออกฤทธิ์ยังไม่ทราบแน่ชัดสารฆ่าแมลงกลุ่มนี้ยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แน่นอนได้แก่ ไวรัสที่ไม่ใช่ Baculovirus ซึ่งเป็นพิษต่อแมลง
Category: สารเคมี