banner ad

ชมพู่

| February 10, 2014
ชื่อต้น : ชมพู่
ชื่อสามัญ : rose apple

วิธีการปลูก : ชมพู่สามารถปลูกได้ทั่วทุกภาคในประเทศไทย นิยมขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่งและทาบกิ่ง การปลูกให้เตรียมหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ ใช้ระยะปลูก 4×4 เมตร หรือ 6×6 เมตร ออกดอกติดผลเดือนมกราคมถึงกลางเดือนเมษายน ระยะออกดอกถึงเก็บเกี่ยวใช้ เวลา 3 เดือน

การดูแลรักษา : หลังการปลูกใหม่หากไม่มีฝน ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ ส่วนการให้ปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักตัวสมบูรณ์แล้ว อัตรา 10-20 กิโลกรัมต่อต้น ส่วนการใส่ปุ๋ยเคมีควรใส่สูตร 15-15-15,12-6-18 หรือ 15-5-20 อัตรา 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม (หน่วยเป็นกิโลกรัม)

—————————————————————————————————–

โรคศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด

โรคผลเน่า พบในสภาพที่ห่อผลชมพู่ด้วยถุงพลาสติกแล้วโดนแดดจัดและอบนึ่งเพราะมีไอน้ำเกิดขึ้นทำให้ผลเน่าได้ จึงควรห่อผลด้วยวัสดุที่ระบายอากาศเข้าออกได้

แมลง ไรศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด
1. เพลี้ยไฟ พบใบอ่อน ยอดอ่อน และช่อดอกถูกทำลาย ป้องกันกำจัดโดยพ่นสารเคมี เช่น สารอิมิดาโคลพริด
2. ด้วงม้วนใบ ใบชมพู่ถูกทำลายโดยใบม้วนเป็นหลอดเล็กๆ และมีไข่ของด้วงม้วนใบอยู่ ป้องกันกำจัดโดยพ่นสารคาร์บาริล หนอนเจาะกิ่ง พบการทำลายของหนอนกัดกินภายในกิ่งและขับถ่ายมูลออกทางปากรูคล้ายขี้เลื่อย ป้องกันจำจัดโดยเมื่อพบรูของหนอน ใช้เข็มฉีดยาดูดสารคลอร์ไพรีฟอสฉีดเข้ารูและอุดด้วยดินเหนียว หากกิ่งแห้งตายให้ตัดไปเผาทำลาย

3. หนอนแดง พบผลชมพู่มีตัวหนอนเจาะกินผลทำให้ผลร่วงก่อนเก็บเกี่ยว ป้องกันกำจัดโดยพ่นสารไดฟลูเบนซูรอน ช่วงเริ่มแทงดอก 1 ครั้ง ช่วงดอกตูม 1 ครั้ง และหลังติดผล 2-3 ครั้ง จนห่อผลหมด

4. แมลงวันผลไม้ พบการทำลายผลชมพู่ ตั้งแต่เริ่มติดผลถึงก่อนห่อผล ป้องกันกำจัดโดยพ่นด้วยเหยื่อโปรตีน ผสมสารเคมีกำจัดแมลงมาลาไธออน 83% EC โดยใช้อัตราเหยื่อ 200-300 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 5 ลิตร พ่น 2-4 จุดต่อต้น ทุก 7 วัน หลังชมพู่ติดผล 1 เดือน จนถึงห่อผล?ติดกับดักอย่างง่าย โดยใช้สารล่อเมธิลยูจินนอลผสมกับสารฆ่าแมลงมาลาไธออนอัตรา 4:1 จากนั้นหยดบนสำลี 3-5 หยด แล้วนำไปแขวนในกับดัก สูง 1.5 เมตรใต้ทรงพุ่ม อัตรา 1 กับดักต่อไร่ เพื่อกำจัดตัวเต็มวัยเพศผู้และติดตามการระบาดของแมลงวันผลไม้ในแปลงปลูก

5. ไรแดง ใบแก่ถูกทำลายโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ใบกร้านและแห้งตาย ป้องกันกำจัดโดยพ่นน้ำให้ต้นชมพู่จนโชกเป็นครั้งคราว หรือพ่นด้วยสารเคมี เช่น สารโพรพาร์ไกต์

—————————————————————————————————-

การใช้ฮอร์โมน

1. การเพิ่มคุณภาพของผล สาร GA3 ความเข้มข้น 10 มก./ล. พ่น 2 ครั้ง ครั้งแรกก่อนดอกบาน ครั้งที่ 2 หลังดอกบาน 7 วัน (พันธุ์เพชรสายรุ้ง)

 

—————————————————————————————————–

คุณค่าอาหารและสรรพคุณ

ชมพู่เนื้อฉ่ำน้ำ รับประทานแล้วสดชื่น แก้กระหายได้ดี มีวิตามินซี ป้องกันโรคหวัด โรคเลือดออกตามไรฟัน มีแคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น เหล็ก เส้นใย วิตามินเอ วิตามินบี 1 และวิตามินบี 2

 

?GAP ชมพู่
By Satja ?Prasongsap
Professional Research Scientist?
Horticultural Research Institute(HRI), Department of Agriculture (DOA)

Category: GAP, พืชผัก ก-ณ, พืชไม้ผล

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news