banner ad

กรดอะมิโน

| August 26, 2024

กรดอะมิโนหรือ Amino Acid คือ ชีวโมเลกุลที่มีหมู่ฟังก์ชันอะมิโนและคาร์บอกซิลเป็นส่วนประกอบ กรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของโปรตีนซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยเฉพาะ กรดอะมิโนสำหรับพืช ที่เป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมนและเอนไซม์ที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อการเจริญเติบโต การให้ กรดอะมิโนกับพืช จะทำให้พืชสามารถนำสารอาหารต่าง ๆ ไปช่วยในการเจริญเติบโต การสร้างผลผลิต และเสริมสร้างความแข็งแรง ได้ไวยิ่งขึ้น รวมถึงกรดอะมิโนเมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้ว ยังสามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็น N ที่เป็นธาตุอาหารสำคัญของพืชได้อีกด้วย โดยกรดอะมิโนสำหรับพืช ที่สำคัญมีด้วยกันทั้งหมด 18 ชนิด โดยแต่ละชนิดจะมีหน้าที่ดังนี้

1. กรดกลูตามิก (Glutamic acid, glutamate : Glu) เป็นสารตั้งต้นในกระบวนการ Metabolism มีบทบาทในกระบวนการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ โดยจะไปเพิ่มความเข้มข้นของปริมาณคลอโรฟิลด์ในใบพืช ทำให้ใบมีสีเขียวเพิ่มขึ้น สังเคราะห์แสงได้มากขึ้น และเสริมภูมิคุ้มกันเชื้อไวรัส นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นตัวคีเลทส่งเสริมการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารภายในต้นพืชช่วยในการดูดซับไนโตรเจน เพิ่มรสชาติ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของใบ และราก พบมากในโปรตีนของเมล็ดพืช
2. โปรลีน (Proline : Pro) ช่วยในการงอกของตา การผสมเกสร และการออกผลทำให้ผลใหญ่ เพิ่มความหวาน เพิ่มรสชาติ ช่วยพืชจากภาวะความเครียดจากสภาวะแวดล้อม เช่น สภาวะน้ำท่วม จากความร้อน และจากสภาวะดินเค็ม รวมถึงการสูญเสียของเซลล์และการควบคุมการเจริญเติบโต
3. ซีสเทอีน (Cystein : Cys) มีบทบาทสำคัญในการสังเคราะห์โปรตีนเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในไซโทรพลาซึมของเซลล์ ทำให้โครงสร้างของโปรตีนมีเสถียรภาพ เป็นส่วนที่สำคัญที่ทำให้โปรตีนมีโครงสร้างทุติยภูมิ ทำให้เอนไซม์ทำหน้าที่สมบูรณ์ ส่งเสริมการสังเคราะห์โปรตีนที่ยอดอ่อน ผล ปลายราก และช่วยควบคุมการดูดซัลเฟตของราก
4. ไอโซลิวซีน (Isoleucine : Iso) มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นกลไกการป้องกันโรคของพืช
5. กรดแอสปาติก (Aspartic acid : Asp) จะทำให้เกิดการจับ CO2 โดยเกิดในส่วนของใบซึ่ง CO2 ถูกเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่มีคาร์บอน จะมีบทบาทในการกระตุ้นการแตกรากและเพิ่มจำนวนราก
6. อิสทิดีน (Histidine : His) เป็นปัจจัยร่วมพบส่วนมากที่ในเนื้อเยื่อ basophils และ CSF ช่วยในการปิด-เปิดปากใบพืช ช่วยเพิ่มความเปรี้ยวและทำหน้าที่เป็น chelators ขนส่งไอออนโลหะของพืช
7. อะลานีน (Alanine : Ala) กรดอะมิโนอะลานีนจะช่วย เพิ่มรสชาติ และเพิ่มความหวานให้แก่พืชผักผลไม้
8. กรดทรีโอนีน (Threonine : Thr) ช่วยในการออกผล เพิ่มความหวาน กรดอะมิโน ทรีโอนีนสามารถนำมาสร้างกรดอะมิโนไกลซีนได้โดยอาศัยเอนไซม์ ส่งเสริมการเจริญเติบโตป้องกันพืชจากความเครียด
9. ไทโรซีน (Tyrosine : Tyr) มีบทบาทสำคัญในการควบคุมการเจริญเติบโตของพืช ส่งสัญญาณ ของเซลล์พืช ควบคุมการเคลื่อนไหวของปากใบช่วยเพิ่มความทนทานต่อความแห้งแล้ง โดยกลไกของ Guard cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่อยู่ข้างๆ โดยทั่วไปปากใบจะรวมไปถึงรูใบและเซลล์รอบ ๆ ช่วยให้เซลล์แก่ช้า
10. ทริพโตเฟน (Trytophane : Try) พืชใช้ในการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน สำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช ได้แก่ กระตุ้นการแบ่งเซลล์สามารถควบคุมการซึมผ่านของเยื่อหุ้มเซลล์ เร่งการขยายเซลล์ ควบคุมการแตกราก ยับยั้งการเจริญเติบโตของตาข้าง ป้องกันการร่วงของใบ กิ่งและผล
11. อาร์จินีน (Arginine : Arg) มีบทบาทเป็นตัวควบคุมการเจริญเติบโต ควบคุมการสร้างเพกตินในผนังเซลล์ ช่วยทำให้เนื้อเยื่อแน่น ส่งเสริมการพัฒนาของราก เป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมน ส่งเสริมเอธีลีน ช่วยชะลอการแก่ตัวชองใบ ส่งเสริมโพลิอามีนหลายชนิด โพลิอามีนเกี่ยวข้องกับการตอบสนองของพืชต่อความเครียดจากสิ่งแวดล้อม ภาวะเครียดจากดินเค็ม การขาดน้ำ และความเครียดจากภาวะเป็นกรด
12. ไกลซีน (Glycine : Gly) ช่วยเพิ่มความหวาน เป็นสารตั้งต้นกระบวนการ Metabolism ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญสำหรับการสร้าง พัฒนาเนื้อเยื่อพืช กระบวนการสังเคราะห์คลอโรฟิลด์ ทำให้พืชมีใบเขียวขึ้น เกิดการสังเคราะห์แสงมากขึ้น และทำหน้าที่เป็น Bacteriostatic Action ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์บางชนิดได้ โดยจะเข้าไปทำลายการสังเคราะห์ผนังเซลล์ของจุลินทรีย์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นตัวคีเลต ส่งเสริมการดูดซับปริมาณธาตุอาหารมากขึ้น และช่วยส่งเสริมการเคลื่อนย้ายธาตุอาหารภายในต้นพืช
13. วาลีน (Valine : Val) เป็นกรดอะมิโนประเภทกลูโคจินิค (glucogenic) จะถูกทำ transamination และdecarboxylation (การกำจัดหมู่คาร์บอกซิล) ในกระบวนการเมตาบอลิซึม หลังจากนั้นจะเป็นอนุกรมของปฏิกิริยาออกซิเดชันเพื่อเปลี่ยน 4 คาร์บอนไปเป็น propionyl-CoA ซึ่งจะเพิ่มรสชาติ และความสดของพืช
14. ไลซีน (Lysine :Lys) ถูกนำไปใช้ในกระบวนการเมแทบอลิซึม ช่วยเพิ่มความสดของสีสันในพืช
15. ลิวซีน (Leucine : Leu) ช่วยในปฏิกิริยาหลายขั้นตอนของกระบวนการเมแทบอลิซึม ซึ่งจะควบคุมกระบวนการพัฒนา การเพิ่มจำนวนเซลล์การบำรุงรักษาเซลล์ ส่งเสริมการเจริญเติบโตของใบ และราก
16. ซีรีน (Serine : Ser) เป็นตัวกลางในกระบวนการ Metabolism ทำให้ช่วยเพิ่มความหวาน
17. ฟินิลอะลานีน (Phenylalanine : Phe) มีบทบาทในการกระตุ้นการแตกราก เพิ่มจำนวนราก และป้องกันโรคพืช
18. เมทไทโอนีน (Methionine : Met) เป็นกรดอะมิโนที่สำคัญในการให้หมู่เมทธิล(-CH3) เร่งการเจริญเติบโต และการแบ่งเซลล์ของพืชมีบทบาทเป็นสารตั้งต้นของฮอร์โมน ต่อมาจะถูกเปลี่ยนเป็น 1-aminocyclopropane-1-carboxylic (ACC) จะถูกเปลี่ยนไปเป็นเอทธิลีนจะช่วยในการออกผล การสุกของผล เพิ่มความหวาน ส่งเสริมไซโตไคนินและเอธีลีนจะช่วยในการเคลื่อนย้ายออกซิน ส่งเสริมการพัฒนาราก

Category: สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช, สารเคมี

Comments are closed.

banner ad

Hit Counter provided by technology news