สารจัสโมเนท
สารจัสโมเนท
สารจัสโมเนท ได้แก่ กรดจัสโมนิก และอนุพันธ์ของกรดจัสโมนิก ช่วยในการยังยั้งการงอกของเมล็ด การยืดยาวของราก การพัฒนหัวใต้ดิน การออกดอก การพัฒนาเรณู การเสื่อมสภาพใบพืช การสุกแก่ของผลไม้ การต้านทานต่อสภาพอากาศหนาวสะท้าน สภาพแล้ง การทนเค็ม การทนทานต่อการเข้าทำลายโรคแมลง การกระตุ้นสารสำคัญ เช่น แอนโทไซยานิน
1. ลดอาการสะท้านหนาวหลังการเก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ - ทับทิม ใช้ความเข้มข้น 1-2 มิลลิโมล โดยจุ่มผลหลังการเก็บเกี่ยวในสารละลายนาน 5 นาที และเก็บรักษาที่ 1.5 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 85 เปอร์เซนต์
- มะม่วงอัตรา 10-4 M รมผล 24 ชั่วโมง และเก็บที่อุณหภูมิ 7 °C 21 วันและ 20 °C 2 วัน
- ฝรั่งอัตรา 10-4 และ 10-5 M รมผล 8 ชั่วโมง และเก็บที่อุณหภูมิ 5 °C 15 วัน และ 20 °C 2 วัน
- ถั่วพุ่มอัตรา 1 μM จุ่มผล 10 นาที และเก็บที่อุณหภูมิ 4 °C 10 วัน
- ลองกองอัตรา 10,20 และ 30 μM/L รมผล นาน 24 ชม.เก็บที่อุณหภูมิ 13 °C 16 วัน
- มะเฟืองอัตรา 5 μM รมผล นาน 12 ชั่วโมง เก็บที่อุณหภูมิ 10 °C 30 วัน
- พุทราอัตรา 1 μM รมผล 8 ชั่วโมง และเก็บที่อุณหภูมิ 10 °C 21 วัน
- ส้มอัตรา 10 μM แช่ผล 10 นาที และเก็บที่อุณหภูมิ 3 °C 3 สัปดาห์ และ 25 °C 12 วัน
- สับปะรดอัตรา 10-3 M จุ่มผล 5 นาที และนำไปเก็บที่อุณตหภูมิ 10 °C 20 วัน
2.การปลิดผล Japanese pear ใช้ความเข้มข้น 500-750 มิลลิกรัมต่อลิตร พ่นก่อนดอกบาน 17-18 วัน
3. การยับยั้งการงอกของเมล็ด : ข้าวโพดเพาะเมล็ดบนกระดาษที่วางบนสารละลายอัตรา 200,500 μM
4. การกระตุ้นการพัฒนาของหัวพืชใต้ดิน : มันฝรั่งพ่นอัตรา 10-3 M สัปดาห์ที่ 2 หลังปลูก
5. การกระตุ้นการสลายตัวของคลอโรฟิลล์ :
- คะน้าใช้อัตรา 1 mM นำใบพืชอายุ 45-50 วัน แช่ลงในสารละลาย 10 นาที แล้วเก็บรักษาในที่มืด
- ทับทิมใช้อัตรา 0.5 mM พ่นทางใบในสัปดาห์ที่ 2 และ 7 หลังจากดอกบาน
6. การเพิ่มปริมาณแอนโทไซยานินในผล/สร้างสารระเหยที่มีกลิ่นหอม :
- แอปเปิ้ลใช้อัตรา 2,240 และ 4,480 ppm พ่นทางใบ ในวันที่ 105 และ 175 หลังดอกบาน(ประเทศไทยปลูกแล้วไม่ให้ผลผลิตเนื่องจากความหนาวเย็นไม่ถึง)
- ท้อใช้อัตรา 100 mM พ่นทางใบในวันที่ 70 หลังดอกบาน
- มะม่วงพันธุ์มหาชนกใช้อัตรา 80 μL/mL พ่นที่ผลในวันที่ 90 หลังจากดอกบาน หรืออัตรา 5,10 และ 15 mM จุ่มผลที่อายุ 84 วัน หลังดอกบาน 1 นาที
7. การเพิ่มคุณภาพผลผลิตหลังการเก็บเกี่ยว :
- มะเขือม่วงใช้อัตรา 5 μM จุ่มผล 10 นาที และเก็บที่อุณหภูมิ 20 °C
- หม่อนอัตรา 10 และ 30 ppm พ่นสารหลังเก็บผล และเก็บที่อุณหภูมิห้อง
- องุ่นใช้อัตรา 10 mM พ่นสารเมื่อผลองุ่นเริ่มแก่และเก็บผลหลังจากนั้นอีก 1 สัปดาห์
8. การเพิ่มความต้านทานโรค :
- องุ่นใช้อัตรา 10 μmol/L รมผลนาน 12 ชั่วโมง หลังจากนั้น 3 ชั่วโมง ได้รับเชื้อโรคพืชบริเวณผิวผล
- กล้วย ใช้อัตรา 1.5 mM พ่นสารเมื่อพืชอายุ 8 สัปดาห์ หลังจากนั้น 3 วัน ได้รับเชื้อโรคพืชทางราก
9. การเพิ่มความทนทานต่อสภาพความเค็ม :
- บร็อกโคลีใช้อัตรา 5 mM พ่นสารเมื่อพืชอายุ 15 วัน และ 26 วันหลังย้ายปลูกและได้รับความเค็ม
- ถั่วลันเตา ใช้อัตรา 100 mmol/L ให้สารเมื่ออายุ 10 วัน และ 3 วันต่อมาได้รับความเค็ม
- ถั่วเหลือง ใช้อัตรา 20 หรือ 30 μM พ่นสารเมื่อพืชอายุ 20 วันและ 24 ชั่วโมงต่อมาได้รับความเค็ม
10. การเพิ่มความทนทานต่อความแล้ง : ข้าวสาลีใช้อัตรา 0.25 μM พ่นทางใบ ในระยะใบธง (S1) และพืชได้รับการขาดน้ำ
Category: สารควบคุมการเจริญเติบโตพืช, สารเคมี